วิชชาธรรมกายและการเข้าถึงพระธรรมกาย GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์ หน้า 38
หน้าที่ 38 / 157

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับวิชชาธรรมกายที่หลวงปู่วัดปากน้ำได้ค้นพบ ซึ่งเป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ที่หายไปนานถึง 2,000 ปีและได้รับการฟื้นฟูในยุคกึ่งพุทธกาล โดยอ้างอิงจากพระไตรปิฎกและหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับธรรมกาย ทำให้สามารถรู้จักและปฏิบัติธรรมได้ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จากผู้มีปฏิบัติและค้นพบความจริงในพระธรรมกายที่สืบทอดต่อมา ไม่เพียงช่วยให้คนรุ่นใหม่ได้มีความเข้าใจในจิตวิญญาณของพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นการจุดประกายให้พระพุทธศาสนาแข็งแกร่งและรุ่งเรืองอีกครั้ง.

หัวข้อประเด็น

-วิชชาธรรมกาย
-การเข้าถึงพระธรรมกาย
-หลวงปู่วัดปากน้ำ
-พระพุทธศาสนา
-กึ่งพุทธกาล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เข้าถึงพระธรรมกายแล้ว วิชชาธรรมกายต่อไป วิชชาธรรมกายอันเป็นแก่นแท้ดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา ที่หลวงปู่วัดปากน้ำท่าน ค้นพบนี้ ได้เลือนหายไปเมื่อประมาณ พ.ศ. 500 คือหายไปนานเกือบ 2,000 ปีมาแล้ว จากนั้นอาศัยธรรมจักขุของพระธรรมกายที่ท่านเข้าถึงศึกษาค้นคว้าความรู้ใน ก่อนหน้าที่หลวงปู่วัดปากน้ำจะค้นพบวิชชาธรรมกาย เรื่องราวของธรรมกายที่ยังคงมีปรากฏอยู่ ในที่ต่างๆ นั้นยังไม่มีผู้ค้นพบ หรือที่พบแล้วก็ไม่เข้าใจว่า “ธรรมกาย” คืออะไร จะเข้าถึงได้หรือไม่ อย่างไร แต่หลวงปู่วัดปากน้ำท่านเชื่อมั่นและยืนยันว่าวิชชาธรรมกาย ที่ท่านค้นพบเป็นของจริงมาโดยตลอด อีกทั้งท่านยังได้ตรวจสอบความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติธรรมของท่านกับพระไตรปิฎกไว้แล้ว การปฏิบัติธรรมจนเข้าถึง “ธรรมกาย” และการค้นพบวิชชาธรรมกายของหลวงปู่วัดปากน้ำถือ เป็นพยานแห่งการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นการรื้อฟื้นคำสอนดั้งเดิมของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าในด้านการปฏิบัติให้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางและยังเป็นการจุดประกายให้พระพุทธศาสนา สว่างไสวโชติช่วงขึ้นอีกครั้งหนึ่งในช่วงกึ่งพุทธกาล คัมภีร์ต่างๆ หลักฐานธรรมกาย คำว่า “ธรรมกาย” (ธมฺมกาย) นี้มีปรากฏอยู่ในที่ต่างๆ หลายแห่ง ทั้งในพระไตรปิฎก และใน ธรรมกาย ในพระไตรปิฎก ปรากฏอยู่ในพระสูตร 4 แห่ง ดังนี้ แห่งแรก อยู่ในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ความว่า ตถาคตสฺส เหตุ วาเสฏฐ อธิวจน์ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิฯ (ดูก่อน วาเสฏฐะ คำว่าธรรมกายก็ดี พรหมกายก็ดี ธรรมภูติก็ดี พรหมภูติก็ดี นี้แหละเป็น ชื่อ ของเราตถาคต) แห่งที่ 2 อยู่ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน โสภิตวรรคที่ 14 ความว่า ธมฺมกายญฺจ ที่เป็นฺติ เกวล์ รัตนากร วิโกเปต น สกฺโกนฺติ โก ทิสวา นปฺปสีทติฯ (ชนทั้งหลายไม่สามารถกำจัดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้ทรงแสดงธรรมกายและผู้เป็น บ่อเกิดแห่งพระรัตนตรัยอย่างเดียวได้ ใครเล่าเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้วจะไม่เลื่อมใส) แห่งที่ 3 อยู่ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน พุทธวรรคที่ 1 ความว่า ภวนฺติ ปัจเจกชนา สยมภู มหนฺต ธมฺมา พหุธมฺมกายา (พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สยมภู ทรงเป็นผู้มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก) ภาคที่ 1 ประวัติ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) DOU 23
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More