พุทธานุสสติและความสุขในการปฏิบัติธรรม GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์ หน้า 72
หน้าที่ 72 / 157

สรุปเนื้อหา

จากหนังสือ “หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ” พุทธานุสสติเป็นความสำคัญในการส่งเสริมสุขใจแก่ผู้ปฏิบัติธรรม โดยที่หลวงปู่วัดปากน้ำได้สอนให้มีพระพุทธคุณในใจเพื่อไม่ตกนรกและไปสวรรค์ได้แน่นอน นอกจากนี้ยังมีความหมายเกี่ยวกับบท “อะระหัง” ที่ผู้คนมักใช้ในการให้กำลังใจผู้ป่วยหนักเมื่อสิ้นลมหายใจ โดยสอดคล้องกับคำสอนในหนังสือวิสุทธิมรรคภาค 1 ที่อธิบายความหมายของคำว่า “อรหัง” เพื่อที่บุคคลจะได้หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ในโลกนี้ได้

หัวข้อประเด็น

-พุทธานุสสติ
-การปฏิบัติธรรม
-ความสุขจากการภาวนา
-บทอะระหัง
-ความเชื่อในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ความตอนหนึ่งจากหนังสือ “หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ” มีว่า “อาศัยเหตุนี้ พุทธานุสสติจึงเป็น คุณธรรมให้เกิดความสุขใจแก่ผู้ปฏิบัติธรรมเป็นประการแรก ดังนั้นหลวงปู่วัดปากน้ำจึงสนใจนัก เป็นที่รู้ กันทั่วไปว่า ท่านเตือนพุทธบริษัทเสมอๆ ว่า อย่าให้เป็นคนว่าง ควรมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ แม้จะยัง ไม่บรรลุอริยผลเบื้องสูงก็ตาม แต่รับรองว่าตายแล้วก็ไม่ตกนรก ไปสวรรค์แน่” ดังพุทธภาษิตว่า “เยเกจิ พุทฺธ์ สรณ์ คตาเส น เต คมิสฺสนฺติ อปายภูมิ ปหาย มานุสฺสํ เทห์ เทวกาย์ ปริปูเรสฺสนฺติ ชนเหล่าใดถึงซึ่งพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ ชนเหล่านั้นแลจำไม่ไปสู่อบาย เมื่อเขาละ ร่างกายนี้แล้ว ก็จะไปเพียบพร้อมอยู่ในเทวสมาคม” ดังนั้น พุทธานุสสติจึงเป็นธรรมอารักขากัมมัฏฐาน รักษาใจบุคคลให้ควรแก่งานยิ่งนัก ดังที่ หลวงปู่ได้เตือนศิษยานุศิษย์ ให้มีพุทธานุสสติเป็นอารมณ์ จึงเป็นที่น่านิยมน่าระลึกไว้ประจำตนทั่วไป ผู้ปฏิบัติตามบทของ สัมมา อะระหัง ย่อมจะได้เห็นแจ้งในสังขตธรรมและอสังขตธรรม ทำลายการเวียนว่าย ตายเกิดได้ ทำลายมานะได้ มีความอุตสาหะเต็มที่ มีความยินดีในธรรม คือ พระนิพพาน และฆ่าบาปธรรมได้ สำหรับบท “อะระหัง” โดยเฉพาะนั้น คนสมัยก่อนหรือคนสมัยนี้ที่พอรู้เรื่อง นิยมนำไปใช้กับ คนไข้หนักก่อนสิ้นลมหายใจ คือ กล่าวนำและเตือนเขาผู้กำลังจะสิ้นใจ ให้ท่องหรือนึกถึง “พระอรหัง” โดยเชื่อกันว่า ถ้าคนไข้มีสติน้อมใจตามคำบอกว่า อะระหัง เพียงใจได้สัมผัสเท่านั้น ก็จะไปเกิดในที่ดี ไปสู่สุคติโลกสวรรค์ จึงนิยมแนะนำกันต่อๆ มาจนทุกวันนี้ ในหนังสือวิสุทธิมรรคภาค 1 อันเป็นคัมภีร์สำคัญของพระพุทธศาสนา ท่านให้คำจำกัดความบท อะระหัง ไว้ชัดแจ้ง ดังบทพระบาลีว่า “อารกตุตา หตตุตา จ หตสงสารกฺกาโร น รโห กโรติ ปาปาน กิเลสาริน โส มุนิ ปจฺจยาทีนมารโห อรห์ เตน วุจฺจติ “พระมุนีพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงนามว่า อรหัง เพราะเป็นผู้ไกลจากข้าศึก และกำจัดข้าศึกคือ กิเลสได้ 1 เพราะเป็นผู้ทำลายสังสารจักรได้ 1 เพราะเป็นผู้ควรแก่สักการะ มีปัจจัย 4 เป็นต้น 1 เพราะเป็นผู้ไม่ทำความชั่วในที่ลับ 1” * มโนรถบูรณี, อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต, มก. เล่มที่ 33 หน้า 332 ภาคที่ 1 ประวัติ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) DOU 57
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More