ข้อความต้นฉบับในหน้า
ที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เจริญก้าวหน้าต่อไป แนวความคิดนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจาก
แนวความคิดของคุณยาย ซึ่งหลวงพ่อท่านได้รับเมื่อคราวไปขออนุญาตคุณยายบวช
คราวนั้นคุณยายอธิบายให้ท่านทราบว่า การสร้างคนให้เป็นคนดีนั้น สิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ก็คือ
ต้องสร้างให้เป็นบัณฑิตทั้งทางโลกและทางธรรม เพราะการจะดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขได้ ทุกคนจำเป็น
ต้องมีความรู้คู่คุณธรรม นอกจากนี้คุณยายยังตั้งความหวังว่า บุคคลกลุ่มนี้จะเป็นกำลังในการเผยแผ่
วิชชาธรรมกายต่อไปด้วย
ดังนั้น โครงการอบรมธรรมทายาทและอุปสมบทหมู่ จึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2515 มี
นิสิตนักศึกษาเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 60 คน โดยผ่านขั้นตอนการอบรมอย่างทรหดอดทน ด้วยการสมาทานศีล
8 อยู่กลดและปฏิบัติธรรม ฝึกเอาชนะใจตนเองด้วยการทำใจให้หยุด ให้นิ่ง ท่ามกลางคูน้ำและคันดินที่เพิ่ง
จะถูกพลิกขึ้นมาใหม่ จากสภาพท้องนาที่แห้งแล้ง ไม่มีต้นไม้ใหญ่ และศาลาปฏิบัติธรรม หรือโรงทานใดๆ
ทั้งสิ้น
โครงการนี้นับเป็นโครงการแรกของวัด และได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาทุกปีจนกระทั่ง
ถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า เยาวชนคนหนุ่มสาวในปัจจุบันได้ตระหนักถึงความสำคัญในการศึกษา
หาความรู้ ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง ตามหลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและแนวความคิดของคนรุ่นหลัง ให้รู้จักฝึกฝนตนเองตาม
คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีความตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียน ตลอดจนมีความประพฤติเป็น
ที่ชื่นชมของพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ จึงนับเป็นโครงการที่ส่งผลดีต่อส่วนรวมและประเทศชาติอย่างยิ่ง
ปี พ.ศ. 2516 เป็นปีที่กำลังจะย้ายจากวัดปากน้ำมาอยู่ที่วัดพระธรรมกาย ขณะนั้นยังเป็น
ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม และเป็นปีที่หลวงพ่อทัตตชีโวท่านบวชครบ 2 พรรษา การก่อสร้างที่
วัดพระธรรมกายถือว่าเสร็จสิ้น จนเกือบจะเข้ามาอยู่ได้แล้ว คุณยายจึงสั่งให้เด็กวัดปลูกกล้วยไว้โดย
รอบกุฏิเป็นจำนวนมาก หลวงพ่อทัตตชีโวอดที่จะสงสัยไม่ได้ตามเคย จึงถามคุณยายว่า
“ยายปลูกทำไมเยอะแยะ คงไม่ใช่เอาไว้ให้อาตมาฉันนะ” คุณยายฟังแล้วก็ตอบอย่างรู้ใจ “เอาไว้
ให้ท่านเตะ ถ้าโกรธเมื่อไร เตะมันให้พับไปเลยต้นกล้วยน่ะ แต่อย่าไปทำอะไรคนเขา เดี๋ยวจะเสียหาย เพราะ
ท่านเป็นพระแล้ว” นับจากวันนั้น ท่านเห็นต้นกล้วยคราวใด ก็จะนึกขันในคำพูดของคุณยาย ซึ่งแสดงถึง
ความเป็นผู้รู้ใจคนเจ้าโทสะอย่างท่าน
หลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ. 2516 พระภิกษุลูกศิษย์ของคุณยาย เฉพาะที่ทำหน้าที่ควบคุม
1 ในการสร้างวัดครั้งแรก ได้สร้างเป็นสำนักสงฆ์ตามระเบียบการสร้างวัด ให้ชื่อว่า “ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม”
ครั้นต่อมา เมื่อขออนุญาตเป็นวัดถูกต้องตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์แล้ว ก็เปลี่ยนชื่อเป็น วัดวรณีธรรมกายาราม แต่ต่อมา
เพื่อให้สอดคล้องกับการเผยแผ่วิชชาธรรมกาย จึงเปลี่ยนชื่อวัดอีกครั้งหนึ่ง เป็น “วัดพระธรรมกาย”
ภาคที่ 2 ประวัติคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง DOU 123