วิชชาธรรมกายและสัมมาสมาธิ GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์ หน้า 71
หน้าที่ 71 / 157

สรุปเนื้อหา

วิชชาธรรมกายเป็นวิชชาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มุ่งเน้นการบำเพ็ญเพียรและเจริญภาวนาโดยใช้สัมมาสมาธิเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการกำจัดกิเลสและบรรลุพระนิพพาน การใช้คำบริกรรม "สัมมา อะระหัง" เป็นส่วนสำคัญในการปฏิบัติกัมมัฏฐาน โดยช่วยให้ผู้ปฏิบัติได้มีจิตที่สงบและเข้าถึงธรรมกายได้ พระโบราณาจารย์เห็นว่า "สัมมา อะระหัง" เป็นพุทธานุสสติที่ช่วยให้จิตมีความมั่นคงและกล้าที่จะดำเนินการปฏิบัติธรรมต่อไป การยึดมั่นในพุทธคุณจะช่วยให้จิตไม่ฟุ้งซ่านและมีมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองเพื่อพระนิพพาน.

หัวข้อประเด็น

- วิชชาธรรมกาย
- สัมมาสมาธิ
- การบำเพ็ญเพียร
- สัมมา อะระหัง
- พระพุทธคุณ
- พุทธานุสสติ
- การปฏิบัติกัมมัฏฐาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วิชชาธรรมกายเป็นวิชชาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการบำเพ็ญเพียร เจริญภาวนาด้วย สัมมาสมาธิ เป็นสัมมาปฏิบัติ มีจุดมุ่งหมายหลักสำคัญ คือ การกำจัดกิเลสอาสวะให้สิ้นไป เพื่อกระทำ พระนิพพานให้แจ้ง การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือการบรรลุธรรมของพระสงฆ์สาวก หากมิได้ดำเนินตามหลักสัมมาสมาธิแล้วก็มิอาจจะเป็นไปได้ สัมมา อะระหัง “สัมมา อะระหัง” เป็นคำที่หลวงปู่ท่านใช้สำหรับบริกรรมภาวนาในการบำเพ็ญสมณธรรม ผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐานตามนัยของหลวงปู่ อาศัยคำภาวนานี้บริกรรม ประกอบกับน้อมนำใจมาไว้ที่ศูนย์กลางกาย ฐานที่ 7 เมื่อใจหยุดถูกส่วนเข้าก็จะเข้าถึงธรรมกายได้ คำว่า “สัมมา อะระหัง” นี้ เป็นบทพระพุทธคุณที่เราใช้ท่องกันอยู่ประจำ “สัมมา” เป็นศัพท์ที่มี ความหมายสูง แปลว่า ชอบ ในพระพุทธคุณ 9 บท ท่านเอาศัพท์นี้เข้าคู่กับ สัมพุทโธ เป็น สัมมาสัมพุทโธ แปลว่า ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ นอกจากใช้ในบทพระพุทธคุณแล้ว ยังมีใช้ในองค์อริยมรรค 8 ด้วย โดยมีคำว่า สัมมา ควบองค์มรรคอยู่ทุกข้อ เป็นสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น ส่วนศัพท์คำว่า “อะระหัง” เป็นพระพุทธคุณบทต้น แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์ เมื่อเข้าคู่กันเป็น “สัมมา อะระหัง” ก็แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์โดยชอบ คือ ถูกต้อง ไม่ผิด โดยนัยว่าบทบริกรรม สัมมา อะระหัง ของหลวงปู่วัดปากน้ำ จึงมีความหมายสูง และอยู่ใน ขอบข่ายของพุทธานุสสติโดยแท้ พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า สัมมา อะระหัง เป็นพุทธานุสสติ มีประโยชน์ในการเจริญ กัมมัฏฐานมาก ดังที่ท่านได้อธิบายว่า “พุทธานุสสติ เป็นธรรมประการต้นที่หลวงปู่วัดปากน้ำสนใจปฏิบัติ และสอนสานุศิษย์เป็นพิเศษ ทุกครั้งที่ปฏิบัติธรรมจะต้องตั้งใจระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เพราะ พุทธานุสสตินั้นเป็นธรรมให้จิตตื่น ให้จิตสว่าง ให้จิตมีกำลัง ให้จิตมีความกล้าที่จะปฏิบัติธรรมสืบต่อไป เป็นวิสัยอันดีของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ธรรมดาบุคคลเราถ้าไม่มีอะไรยึดแล้ว จิตย่อมคอยแต่จะฟุ้งซ่าน จะ ทำให้สงบอยู่ไม่ได้ จิตจึงต้องมีพุทธคุณยึด เมื่อมีพุทธคุณยึดแล้ว จะหลับก็ตามจะตื่นก็ตาม จิตย่อมอยู่ใน การรักษาทั้งนั้น เพราะพุทธานุภาพย่อมรักษาคนที่มีสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์อยู่เป็นนิตย์ ดัง พุทธภาษิตว่า “สุปปพุทธ์ ปทุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา เยส์ ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺนํ พุทฺธคตา สติ สติที่ไปในพระพุทธเจ้า มีแด่พระสาวกของพระโคดมเหล่าใด ทั้งวันทั้งคืน พระสาวกของพระโคดมเหล่านั้น จะหลับก็ตาม จะตื่นก็ตาม ชื่อว่าตื่น ตื่นแล้วด้วยดี” ธัมมปทัฏฐกถา, อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่มที่ 43 หน้า 172 56 DOU ปฏิปทา มหาปูชนียาจารย์
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More