ข้อความต้นฉบับในหน้า
แห่งที่ 4 อยู่ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เอกโปสถวรรคที่ 2
ความว่า สํวทฺธิโตย์ สุคต รูปกาโย มยา ตว อานนฺทิโย ธมฺมกาโย มม สวทฺธิโต ตยาฯ
(ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้อันหม่อมฉันยังให้เติบโตแล้ว แต่พระธรรมกาย อันน่า
รื่นรมย์ของหม่อมฉัน พระองค์ให้เติบโตแล้ว)
6 แห่ง
-
หลักฐานธรรมกายที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อื่นๆ
ในอรรถกถา มีปรากฏอยู่ 25 อรรถกถา
ในฎีกาพระวินัยที่ชื่อว่า “สารัตถทีปนี” กล่าวถึง “ธรรมกาย” ในฉบับภาษาบาลีอยู่ประมาณ
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค กล่าวถึง “ธรรมกาย” อยู่ 2 แห่ง
ในคัมภีร์มิลินทปัญหา กล่าวถึงธรรมกายอยู่ 1 แห่ง
ในหนังสือ “ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3” กล่าวว่า ในศิลาจารึกหลักที่ 54 พ.ศ. 2092 ที่
จารึกไว้เป็นภาษาไทยและมคธ มีข้อความกล่าวถึงเรื่องราวของพระธรรมกายเอาไว้
ในหนังสือปฐมสมโพธิกถา ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า พระอุปคุตต์เห็นพระธรรมกาย นั่นคือ
พระธรรมกายนั้นสามารถเห็นได้ ข้อความนี้เป็นเครื่องยืนยันความรู้อันเกิดจากการปฏิบัติธรรมของ
พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีและศิษย์ของท่าน
ในจารึกลานทอง กล่าวถึง “ส่วนสูงของพระธรรมกาย” ไว้ด้วย หลักฐานนี้ยืนยันคำสอน
ของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีและศิษย์ เกี่ยวกับ “การวัดมิติของพระธรรมกาย” ว่าไม่ใช่สิ่งที่
นอกเหนือจากตำราแต่อย่างใด สำหรับต้นฉบับจารึกลานทองนี้ ปัจจุบันตั้งแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
นอกจากนี้ในคัมภีร์ฝ่ายมหายานยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมกายอยู่มากกว่าในคัมภีร์ฝ่าย
เถรวาท และในคัมภีร์เหล่านั้นมีอยู่หลายตอนที่กล่าวตรงกันกับการค้นพบของหลวงปู่ เช่น ในคัมภีร์
ศรีมาลาเทวีสีหนาทสูตรตอนหนึ่งกล่าวว่า “ธรรมกายนั้นย่อมเที่ยงแท้แน่นอนที่สุด เป็นสุขล้วนๆ
เป็นตัวตนคืออัตตาที่แท้จริง บริสุทธิ์ที่สุด ผู้ใดได้เห็นธรรมกายของตถาคตในลักษณะนี้แล้ว ย่อมถือว่า
เห็นถูก”
การค้นพบวิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่สูญหายไป
นับพันปีนี้ นับเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ได้กระทำไว้เป็นคุณูปการใน
พระพุทธศาสนา
24 DOU ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์