พระผู้ปฏิบัติธรรมและอาพาธของหลวงปู่ GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์ หน้า 49
หน้าที่ 49 / 157

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับหลวงปู่ที่เป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ซึ่งมีการปฏิบัติธรรมอย่างเข้มแข็งแม้ในขณะที่อาพาธ ท่านมีการจัดการประชุมเพื่อให้คนอื่นๆ เลี้ยงพระและยังคงให้กำลังใจเด็กๆ อย่างต่อเนื่องโดยไม่ยอมให้ผู้อื่นช่วยในการเคลื่อนไหวพื้นฐานของท่าน ทุกสิ่งเกิดขึ้นได้ผ่านการประสบการณ์และความทุ่มเทในการทำงานเพื่อวัดและสังคม แม้ว่าอาการของโรคจะกำเริบ แต่หลวงปู่ก็ยังรักษาใจได้เป็นอย่างดี

หัวข้อประเด็น

- พระพุทธคำสอน
- การปฏิบัติธรรม
- ประสบการณ์ชีวิตของหลวงปู่
- อาพาธและสุขภาพของพระสงฆ์
- การจัดการงานบำเพ็ญกุศล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

“ตาธรรมดา” พระพุทธดำรัสข้างต้นนั้น เป็นปัญหาธรรมมีนัยลึกซึ้งอยู่ ถ้ามิได้ปฏิบัติธรรมก็เข้าใจได้ยาก เมื่อท่านปฏิบัติได้แล้ว จึงตอบปัญหาได้อย่างง่ายดาย อาพาธและมรณภาพ นับจากวันที่หลวงปู่ได้รับมอบหมายให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำเป็นต้นมา ท่านรับภาระ หนักมาโดยตลอด ท่านมีเวลาพักผ่อนน้อย เพราะเวลาส่วนใหญ่อุทิศให้กับเรื่องการทำภาวนาและ การบริหารวัดทุกวันไม่ได้ขาด จนล่วงเข้าวัยชรา สุขภาพของท่านก็เริ่มทรุดโทรม ท่านเริ่มอาพาธเป็น โรคความดันโลหิตสูง เมื่อประมาณกลางเดือนมีนาคม พ.ศ. 2499 ในช่วงแรกอาการของหลวงปู่ขึ้นๆ ลงๆ มี พล.ร.จ.เรียง วิภัติภูมิประเทศ ร.น. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทหารเรือ เป็นแพทย์ประจำของหลวงปู่ ได้มาเยี่ยมดูอาการทุกเช้า-เย็น และให้การรักษาพยาบาลด้วยตัวเอง เมื่อตรวจพบอาการของโรคใดที่ สงสัย ก็จะเชิญผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ มาตรวจรักษาหลวงปู่ ตอนที่เริ่มอาพาธใหม่ๆ หลวงปู่ท่านนัดประชุมพระภิกษุ สามเณร แม่ชี และลูกศิษย์วัดทั้งหมด ที่ศาลาเก่า ท่านขอให้ทุกคนเป็นเจ้าภาพเลี้ยงพระปีละ 1 วัน โดยให้ไปชักชวนพ่อแม่ ญาติพี่น้อง ให้ได้ ครบ 365 วัน ตอนนั้นพระครูปัญญาภิรัติคิดว่าหลวงปู่จะปลงสังขารแล้ว จึงได้อาราธนาให้ท่านอยู่นานๆ เหตุนี้จึงนับเป็นการเริ่มโครงการเลี้ยงพระประจำวัน ซึ่งมีหลวงปู่เป็นผู้ริเริ่ม หลวงปู่ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระมงคลเทพมุนี ในระหว่างอาพาธ ในขณะนั้น อาการมีแต่ทรงกับทรุด ถึงแม้ว่าอาการจะเป็นอย่างนี้ แต่กำลังใจของท่านยังแข็งแกร่ง ท่านยังเข้ารับ พระราชทานสัญญาบัตรในพระบรมมหาราชวังได้ด้วยตัวเอง หลวงปู่ได้นำโยมมารดาของท่านมาเลี้ยงดูอยู่ในวัดปากน้ำเป็นอย่างดี สร้างที่อยู่ให้อย่าง สะดวกสบายจนตลอดชีวิต โยมแม่เสียชีวิตด้วยโรคงูบินในปี พ.ศ. 2484 เมื่ออายุ 82 ปี หลวงปู่ได้เก็บ ร่างของโยมแม่ไว้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2500 ท่านได้จัดการฌาปนกิจศพโยมมารดาของท่าน เพื่อเป็นการ สนองพระคุณ แม้ว่าอาการของโรคจะกำเริบมากขึ้น แต่ท่านก็ยังไปร่วมงานบำเพ็ญกุศลได้จนตลอด ก่อนหน้านี้หลวงปู่เคยเข้ารับการผ่าตัดโรคไส้เลื่อนที่โรงพยาบาลศิริราชมาก่อน 1 ครั้ง และต้อง เข้าพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสงฆ์ 2 ครั้ง แม้ว่าท่านจะอาพาธแต่ก็ยังสอนเจริญภาวนา และทำภาวนา ตามปกติ ท่านจะให้พระภิกษุมานั่งสมาธิใกล้ๆ ท่านทุกวันไม่ได้ขาด หลวงปู่ท่านมีกำลังใจเข้มแข็งมาก เวลาท่านจะลุก นั่ง ยืน เดิน หรือสรงน้ำ ท่านจะทำเอง ไม่ยอมให้ผู้อื่นช่วย ท่านไม่เคยบ่นหรือจี้จี้กับใคร ใครนำอาหารมาถวายอย่างไร ก็ฉันอย่างนั้น ถ้ามีผู้ห้าม จากหนังสือ เทศนาต่างเรื่อง พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ โยมแม่สุดใจ มีแก้วน้อย 34 DOU ปฏิปทา มหาปูชนียาจารย์
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More