ประวัติพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์ หน้า 42
หน้าที่ 42 / 157

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอประวัติของพระมงคลเทพมุนี ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ที่มีบทบาทสำคัญในการสอนภาษาบาลีและสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม โดยเล่าถึงการสร้างอาคารเรียนใหม่ที่เข้มแข็งเพื่อตอบสนองความต้องการของพระภิกษุและสามเณรในสมัยนั้น พูดถึงสถานการณ์การเงินและความยากลำบากในการหาเงินสร้างโรงเรียน รวมถึงโครงการสำคัญที่จะฉลองโรงเรียน แต่ต้องหยุดชะงักเนื่องจากอาการอาพาธของหลวงปู่ในปี พ.ศ. 2499 สรุปแล้วเป็นการเรียนรู้ชีวิตและศรัทธาของพระมงคลเทพมุนีในการสร้างสรรค์การศึกษาบนเส้นทางธรรมะที่ยั่งยืน.

หัวข้อประเด็น

-ประวัติพระมงคลเทพมุนี
-การสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม
-การศึกษาและการเรียนการสอน
-อุปสรรคในการหาทุน
-ความสำคัญของภาษาบาลี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ธรรมคณี เป็นอาจารย์ใหญ่ มีการสอนภาษาบาลี นักธรรมศึกษา และสามัญศึกษา แผนกภาษาบาลีนั้น ทำการสอนตั้งแต่ชั้นไวยากรณ์ถึงเปรียญธรรม 6 ประโยคที่สูงกว่านี้ยังไม่สามารถเปิดสอนได้ เพราะขาด บุคลากร อาคารเรียนในสมัยนั้นเป็นอาคารเรือนไม้ชั่วคราว และไม่เพียงพอต่อจำนวนพระภิกษุ สามเณรที่ เข้าเรียน เพราะขณะนั้นวัดปากน้ำมีพระสงฆ์จำพรรษาถึง 600 รูปเศษ และยังมีพระภิกษุ สามเณรจาก วัดใกล้เคียงมาศึกษาด้วย ต่อมาหลวงปู่มีดำริที่จะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม” ขึ้นใหม่ ให้หลังใหญ่และทันสมัยขึ้น เพียงพอที่จะรองรับพระภิกษุ สามเณรเข้าศึกษาได้มากๆ โรงเรียนพระปริยัติธรรมที่หลวงปู่ดำริสร้าง ขึ้นนี้ ท่านตั้งใจจะสร้างให้เป็นอาคารถาวร โดยมีโครงสร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 3 ชั้น ชั้น 1 และ 2 สำหรับเรียนพระปริยัติ ส่วนชั้น 3 สำหรับนั่งเจริญภาวนา อาคารเรียนหลังนี้สามารถรองรับ นักเรียนได้ถึง 1,000 รูป ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จสามารถรองรับพระภิกษุ สามเณรที่มาเรียนได้ทั้งหมดอย่างแน่นอน หลวงปู่ได้เชิญ ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น และ ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม มาเป็นผู้วางศิลาฤกษ์ ในปี พ.ศ. 2493 และเริ่มก่อสร้างในปีเดียว กันนี้ โรงเรียนสร้างเสร็จและเปิดทำการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2497 หลวงปู่ได้ตั้งชื่ออาคารหลังนี้ว่า โรงเรียนภาวนานุสนธิ์ ในสมัยนั้นนับว่าเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่ใหญ่ที่สุด และมีอุปกรณ์การศึกษา ครบครัน ต่อมาท่านมีโครงการจะฉลองโรงเรียนในปี พ.ศ. 2500 โดยจะนิมนต์พระภิกษุ 2,500 รูป มาเจริญพระพุทธมนต์และถวายภัตตาหาร รวมทั้งเครื่องสมณบริขาร แต่เนื่องจากท่านอาพาธในปี พ.ศ. 2499 โครงการฉลองโรงเรียนจึงต้องระงับไป มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า ในช่วงแรกๆ ที่หลวงปู่เริ่มดำเนินการก่อสร้าง ศิษยานุศิษย์ของท่าน ต่างพากันหนักใจแทน เพราะในขณะนั้นไม่มีทุนค่าก่อสร้างเลย วันหนึ่งพระครูวิเชียรธรรมโกวิท” และ พระครูปรีชายัติกิจ พร้อมด้วยพระภิกษุอีก 8 รูป เข้าพบหลวงปู่เพื่อกราบเรียนเรื่องการหาเงิน สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม เนื่องจากเห็นว่าท่านได้สั่งซื้อเสาเข็มเป็นจำนวนมาก เกรงว่าจะไม่มีเงิน ค่าก่อสร้าง ทุกรูปจึงเสนอแผนการหาทุนว่า จะออกไปแสดงพระธรรมเทศนาตามวัดต่างๆ ในต่างจังหวัด ที่มีลูกศิษย์หลวงปู่อยู่มากๆ โดยจะจัดทำซองเป็นชุดๆ เพื่อใส่ปัจจัยที่ได้จากการทำบุญติดกัณฑ์เทศน์ และจะนำซองเหล่านั้นมาให้ไวยาวัจกรเปิดนับเงินกันที่วัดปากน้ำ หลวงปู่นั่งฟังโครงการของพระภิกษุเหล่านั้นจนจบโดยไม่คัดค้านอะไร แล้วก็กล่าวขอบใจ 1 เรื่องการสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมนี้ หลวงปู่พูดมาไม่น้อยกว่า 20 ปี * ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดคูหาสวรรค์ * ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศิลามูล อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ภาคที่ 1 ประวัติ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) DOU 27
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More