ข้อความต้นฉบับในหน้า
ไว้วางใจให้มีผู้ดูแล และให้รายงานให้ท่านทราบ หลวงปู่ปกครองวัดแบบพ่อปกครองลูก ท่านยึดหลัก
“พรหมวิหาร 4” เป็นข้อปฏิบัติ เป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่ศิษยานุศิษย์ทุกคน
การศึกษาพระปริยัติธรรม
หลวงปู่ท่านเป็นผู้ที่รักและเห็นความสำคัญของการศึกษา สมัยที่ท่านอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ
ท่านเคยจัดตั้งโรงเรียนขึ้นโดยใช้กุฏิของท่านเป็นที่สอนหนังสือแก่พระภิกษุ สามเณร ท่านพูดว่า
“การศึกษานั้นสามารถเปลี่ยนชีวิตผู้ศึกษาให้สูงกว่าพื้นเดิม คนที่มีการศึกษาดี จะได้อะไรก็ดีกว่า
ประณีตกว่าผู้อื่น คนมีวิชาเท่ากับได้สมบัติจักรพรรดิกินใช้ไม่หมด”
ในสมัยที่หลวงปู่มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำใหม่ๆ มักจะมีเด็กๆ ลูกชาวบ้านเข้ามาก่อ
ความเดือดร้อนในวัดปากน้ำเสมอ ด้วยเหตุที่เด็กเหล่านั้นไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน จึงมาเที่ยวเล่นเกเร ยิงนก
ตกปลาภายในบริเวณวัด หลวงปู่ท่านเป็นห่วงอนาคตของเด็กๆ มาก เกรงว่าถ้าไม่ได้รับการศึกษาแล้ว
จะกลายเป็นเด็กเกเรและเป็นอันธพาลในที่สุด ท่านจึงก่อตั้งโรงเรียนขึ้นในวัด เพื่อให้เด็กๆ ได้ศึกษาเล่าเรียน
และเป็นที่อบรมสั่งสอนให้เด็กมีความประพฤติที่ดีขึ้น
โรงเรียนแห่งนี้หลวงปู่จัดหาทุนสร้างเองทั้งหมด ซึ่งปรากฏว่ามีผู้บริจาคทุนเพื่อสร้างโรงเรียน
เป็นจำนวนมาก ได้แก่ ท่านผู้หญิงสุธรรมมนตรี (กิมไล้ สุจริตกุล) หลวงฤทธิ์ณรงค์รอญ ธนบดีในย่าน
คลองบางหลวงบ้านอยู่ข้างวัดสังกระจาย นายต่าง บุณยมานพ ธนบดีตลาดพลู พระภิรมย์ราชาวาจรงค์
บ้านอยู่ตรงข้ามหน้าวัด และผู้มีจิตศรัทธาอื่นๆ อีกหลายคน หลวงปู่ท่านไม่เก็บค่าเล่าเรียน ชาวบ้าน
รอบวัดจึงพาลูกหลานมาสมัครเข้าเรียน เริ่มแรกมีจำนวนนักเรียนเพียงหลักสิบ เมื่อเวลาผ่านไปจำนวน
นักเรียนก็เพิ่มขึ้นเป็นหลักร้อย จนถึงสามร้อยกว่าคน เมื่อลูกหลานของเขามีการศึกษาและมีความประพฤติ
ดีขึ้น ทำให้ชาวบ้านในละแวกนั้นเกิดความศรัทธาเลื่อมใส และซาบซึ้งในพระคุณของหลวงปู่ ความสัมพันธ์
กับชาวบ้านรอบวัดจึงดีขึ้นตามลำดับ
ต่อมาหลวงปู่ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่รักษาการเจ้าอาวาสวัดขุนจันทร์ ท่านจึงย้ายโรงเรียน
ไปอยู่ที่นั่น และเมื่อรัฐบาลประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา มีการจัดตั้งโรงเรียนเพิ่มขึ้น
และกระจายอย่างทั่วถึง หลวงปู่จึงมอบงานด้านนี้ให้ทางรัฐบาลดำเนินต่อไป
ท่านพยายามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคนได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม เพราะท่าน
มุ่งที่จะพัฒนาให้พระภิกษุ สามเณรมีความรู้ ท่านไม่ยอมให้พระภิกษุ สามเณรในวัดอยู่ว่างๆ ทุกรูป
ต้องศึกษาพระปริยัติธรรม เพื่อรู้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างละเอียด จะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง และ
สั่งสอนญาติโยมได้ สำหรับหลวงปู่แล้วนอกจากจะศึกษาพระปริยัติธรรม ยังไม่เพียงพอ พระภิกษุ สามเณร
ทุกรูปต้องปฏิบัติธรรมควบคู่ไปด้วย ดังคำที่ว่า “ปริยัติเป็นยาทา วิปัสสนาเป็นยากิน”
ในปี พ.ศ. 2490 วัดปากน้ำได้รับการยกฐานะให้เป็นสำนักเรียนด้านปริยัติ มีพระครูพิพัฒน์
26 DOU ปฏิปทา มหาปูชนียาจารย์