ข้อความต้นฉบับในหน้า
ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ท่านได้ยินคำว่า “สัมมา อะระหัง”
ในการเดินธุดงค์ครั้งที่สอง ท่านเดินไปถึงจังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อไปถึงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
จึงได้ปักกลดที่นั่น เพราะเห็นว่าเป็นที่สงบ และอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านนัก เป็นวัดกิ่งวัดร้าง บรรยากาศ
เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมมาก วันหนึ่งท่านเห็นเด็กต้อนวัวเข้าไปเลี้ยงในบริเวณนั้น จึงห้ามว่า “อย่าปล่อย
ให้วัวเดินเหยียบย่ำพระซึ่งอยู่ใต้แผ่นดินจะมีบาปมาก” เด็กเลี้ยงวัวเหล่านั้นไม่เชื่อว่ามีพระพุทธรูปอยู่ใต้ดิน
ท่านจึงให้ขุดดู ปรากฏว่าพบพระพุทธรูปหลายองค์ คนในบริเวณนั้นจึงศรัทธาและเลื่อมใสท่าน
หลวงปู่ต้องการจะซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปในวัด ซึ่งมีสภาพไม่สมบูรณ์ เพราะถูก
ทุบทำลายบ้าง และเก่าตามกาลเวลาบ้าง ท่านจึงชักชวนประชาชนในบริเวณนั้นให้มาช่วยกันปฏิสังขรณ์
ท่านรวมคนด้วยการสอนการปฏิบัติธรรม มีคนมาเรียนธรรมปฏิบัติเป็นจำนวนมาก แล้วท่านก็อธิบาย
อานิสงส์ที่จะได้รับจากการปฏิสังขรณ์พระพุทธรูป ปรากฏว่ามีชาวบ้านมาช่วยกันปฏิสังขรณ์กันเป็น
จำนวนมากด้วยความปลื้มปีติ แต่ยังปฏิสังขรณ์ไม่เสร็จ ก็ได้รับคำสั่งให้กลับวัดพระเชตุพนฯ เนื่องจาก
เจ้าเมืองสุพรรณบุรีและสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรีเห็นว่า มีคนมาเรียนธรรมปฏิบัติกับหลวงปู่
กันเป็นจำนวนมาก เกรงว่าจะมีการซ่องสุมกำลังพล ครั้นเมื่อสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรีได้พบกับ
สมเด็จพระวันรัต (ติสสทัตตเถระ) วัดพระเชตุพนฯ ในเวลานั้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะอำเภอภาษีเจริญ
จึงได้ปรึกษากันเรื่องที่หลวงปู่วัดปากน้ำไปปักกลดธุดงค์อยู่ที่นั่น และขอให้ทางคณะสงฆ์เรียกตัวท่านกลับ
ด้วยความเคารพในการปกครอง หลวงปู่จึงเดินทางออกจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุไปอยู่
วัดสองพี่น้อง และจำพรรษาที่นั่น ในขณะที่อยู่ที่วัดสองพี่น้อง ท่านได้ก่อตั้งโรงเรียนนักธรรมและชักชวน
กันตั้งมูลนิธิเพื่อการศึกษาขึ้น หลังจากนั้นท่านจึงกลับมายังวัดพระเชตุพนฯ อีกครั้ง
ก่อนที่หลวงปู่จะเริ่มเรียนด้านคันถธุระในพรรษาแรก ท่านตั้งใจไว้ว่าจะต้องแปลหนังสือใบลาน
มหาสติปัฏฐานลานยาวผูกหนึ่ง ซึ่งอยู่ที่วัดสองพี่น้องให้ได้ ถ้าแปลได้เมื่อไรก็จะหยุดเรียนคันถธุระ แต่ถ้า
ยังแปลไม่ได้ก็จะต้องเรียนต่อไป เมื่อถึงพรรษาที่ 11 ท่านมีความรู้มากพอที่จะแปลหนังสือใบลานผูกนั้นได้
จึงหยุดเรียนด้านคันถธุระในพรรษาที่ 11 นี้เอง
สมัยที่หลวงปู่เรียนอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ ท่านได้รู้จักกับหลวงพ่อนก จึงไปเยี่ยมหลวงพ่อนกที่
วัดโบสถ์บน หลวงพ่อนกมักให้ท่านไปเทศน์แทนอยู่เสมอ กิจวัตรที่หลวงปู่ท่านทำเป็นประจำเวลามาอยู่
วัดโบสถ์บน คือ เวลาบ่าย 2 โมง ท่านจะเข้าปฏิบัติสมาธิในโบสถ์ บรรยากาศในสมัยนั้น รอบโบสถ์มีต้นไม้
มาก เป็นป่าล้อมรอบ มีความเงียบสงัดไปทั่วบริเวณ หลวงปู่ท่านไปๆ มาๆ ที่วัดโบสถ์บนอยู่เป็นประจำ
เมื่อหลวงปู่หยุดเรียนด้านคันถธุระแล้ว ก็มุ่งปฏิบัติด้านวิปัสสนาธุระอย่างจริงจัง ในขณะนั้นท่าน
ต้องการจะไปจำพรรษาที่วัดโบสถ์บน ตำบลบางคูเวียง ในคลองบางกอกน้อย เพราะต้องการจะตอบแทน
หลวงพ่อนกอยู่ที่วัดโบสถ์บนในสมัยที่เจ้าอธิการชุ่มเป็นเจ้าอาวาส และได้เป็นเจ้าอาวาสต่อจากเจ้าอธิการชุม
ภาคที่ 1 ประวัติ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) DOU 17