คุณค่าของการบริกรรมสัมมา อะระหัง GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์ หน้า 73
หน้าที่ 73 / 157

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงคุณค่าของบท 'สัมมา อะระหัง' ซึ่งเป็นคำบริกรรมที่มีความหมายสูงสุดที่พระปรมาจารย์ใช้ในการฝึกจิตและสอนไปสู่การเข้าถึงพระธรรมกาย โดยยกตัวอย่างการหยุดใจในการปฏิบัติธรรม การรับรู้ศูนย์กลางกาย และประสบการณ์การเห็นดวงใสที่เกิดจากการหยุดนิ่ง นอกจากนี้ยังมีการอธิบายถึงความสำคัญของการหยุดในทางธรรมเพื่อให้ก้าวหน้าไปยังขั้นสูงสุดของการปฏิบัติ ดำเนินตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จทางธรรมและทางโลก

หัวข้อประเด็น

-คุณค่าของบทสัมมา อะระหัง
-การหยุดใจในปฏิบัติธรรม
-ศึกษาแนวทางการสร้างสมาธิ
-บทบาทของศูนย์กลางกาย
-การเห็นดวงใสในการฝึกจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คุณค่าของบท “สัมมา อะระหัง” มีความหมายสูงมาก เป็นบทแสดงพระคุณอันสูงสุดของ พระพุทธเจ้าโดยตรง การที่พระปรมาจารย์ทรงกรรมฐาน นำพุทธคุณบทนี้ไปใช้ในการบริกรรมฝึกจิต และ ฝึกสอนศิษย์ของตนนั้น นับว่าท่านเข้าใจ และมีจิตมุ่งสูงส่ง เพราะตลอดเวลาที่บริกรรม “สัมมา อะระหัง” ท่านจะต้องพยายามเข้าถึงบทบริกรรมนี้ให้ได้ กล่าวคือ มีจิตมุ่งทำลายกิเลส ประพฤติตนเป็นนาบุญบริสุทธิ์ และเว้นขาดจากความชั่วทั้งในที่ลับและที่แจ้ง นับเป็นสุปฏิบัติโดยแท้ หยุดเป็นตัวสำเร็จ หลวงปู่ท่านสอนการปฏิบัติธรรม เพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย โดยให้น้อมนำใจมาหยุดไว้ที่ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ตลอดเวลา หมั่นตรึกระลึกนึกถึงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ประหนึ่งว่า ขาดการ น้อมนึกอย่างนั้นไม่ได้ดังลมหายใจ กลวิธีที่ท่านใช้เป็นกุศโลบายให้ใจเกาะเกี่ยวอยู่กับศูนย์กลางกาย ก็คือ ให้นึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นองค์พระแก้วใส หรือเป็นดวงแก้วกลมรอบตัว ใสบริสุทธิ์ มีบางท่านติเตียน ท่านว่าสอนให้ติดรูป สอนให้ติดนิมิต เมื่อหลวงปู่ทราบท่านบอกว่า “เมื่อไม่ติดทำไมจึงจะรู้ว่าหลุด เปรียบเสมือนกับการขึ้นบันได ถ้าเราเหยียบบันไดไม่มั่นแล้ว เรา จะก้าวต่อไปให้มั่นได้อย่างไร ถ้าเราจะเหยียบบันไดขั้นที่ 2 เหยียบบันไดขั้นที่ 1 ให้มั่นเสียก่อน แล้วเราจึง ก้าวต่อไปถึงขั้นที่ 2 เมื่อจะก้าวต่อไปที่ขั้นที่ 3 ก็ต้องเหยียบขั้นที่ 2 ให้มั่น และเราก็ไม่ได้ติดอยู่ที่ขั้นเดียว” หลวงปู่ท่านอธิบายถึงความหมายของคำว่า หยุดไว้ว่า “หยุดนั่นแหละเป็นตัวสมถะเป็นตัวสำเร็จ” คือ สำเร็จหมดทั้งทางโลกและทางธรรม “โลกที่จะได้รับความสุขได้ ใจก็ต้องหยุดตามส่วนของโลก ธรรมที่จะได้รับความสุข ใจต้องหยุดตามส่วนของธรรม หยุดนั่นเองเป็นตัวสำเร็จ หยุดนั่นเองเป็น ตัวสำคัญ หยุดคำเดียวเท่านั้นถูกทางสมถะตั้งแต่ต้นจนเป็นพระอรหันต์ เป็นตัวศาสนาแท้ๆ ถูกโอวาทของพระบรมศาสดา ถ้าไม่หยุด จะปฏิบัติศาสนาสักกี่ปีก็ช่าง 40-50 ปีก็ช่าง แต่ถ้าทำใจให้ หยุดไม่ได้ เป็นไม่ถูกร่องรอยพระพุทธศาสนา” หลวงปู่ท่านยกตัวอย่างเรื่ององคุลิมาล ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงแก้ไข แสดงธรรมะจนองคุลิมาล สำเร็จเป็นพระอรหันต์ด้วยคำว่า หยุด คำเดียว เมื่อทำใจให้หยุดได้แล้ว ก็ต้องหยุดในหยุดๆ ไม่มีถอย หลังกลับ หยุดในหยุดๆ ๆ อยู่นั่นเอง ใจที่หยุดนั้นต้องถูกกลาง ถ้าไม่ถูกกลางก็ใช้ไม่ได้ พอใจหยุดนิ่งสนิทอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 แล้ว ก็เห็นเป็นดวงใสเท่าดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ ผุดขึ้นที่ใจหยุดนั้น เรียกว่า ตกศูนย์ พอเห็นศูนย์ใจก็หยุดอยู่กลางศูนย์นั้น กลางดวงในเท่าดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์นั้น ดวงนี้เรียกว่า ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อีกนัยหนึ่งเรียกว่า ดวงปฐมมรรค หรือ เอกายนมรรค แปลว่า หนทางเอกไม่มีโท หนทางหนึ่ง สองไม่มี เป็นทางไปของพระพุทธเจ้า 58 DOU ปฏิปทา มหาปูชนียาจารย์
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More