แก้ไขทุกข์มนุษย์ของหลวงปู่ GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์ หน้า 58
หน้าที่ 58 / 157

สรุปเนื้อหา

หลวงปู่มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรมและช่วยเหลือผู้ที่ประสบความทุกข์ ท่านอุทิศเวลาส่วนใหญ่ในการเจริญจิตภาวนาและให้การต้อนรับผู้ที่มาหาอย่างเสมอภาค รับฟังและช่วยแก้ไขปัญหาอย่างมีเมตตา โดยไม่หวังผลตอบแทน ในการทำวิชชาของท่านมีบทบาทสำคัญที่ต้องการให้ทุกคนที่เข้าใจธรรมสามารถปฏิบัติร่วมกันได้ โดยสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการฝึกสมาธิและทำวิชชาในที่ตั้งเซนต์ของท่าน

หัวข้อประเด็น

-การปฏิบัติบูชาของหลวงปู่
-การช่วยเหลือทางจิตใจ
-การสร้างชุมชนธรรม
-การทำวิชชาและธรรมกาย
-วิถีชีวิตและจิตวิญญาณของหลวงปู่

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แก้ไขทุกข์มนุษย์ หลวงปู่ท่านทุ่มเทให้กับการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังเวลาโดยมากของท่านอยู่กับการเจริญจิตภาวนา ท่านจึงออกรับแขกเป็นเวลา ตอนเพลครั้งหนึ่ง และเวลา 5 โมงเย็นอีกหนหนึ่ง ท่านมีจิตเมตตาช่วยเหลือ ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่เลือกหน้า และไม่หวังสิ่งใดตอบแทน ทุกคนที่มาหาท่าน ท่านต้อนรับอย่างเสมอภาค เท่าเทียมกันหมด ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร เป็นสามัญชนธรรมดา หรือมียศถาบรรดาศักดิ์ยิ่งใหญ่เพียงใดก็ตาม ปกติเวลาท่านออกรับแขกนั้น ท่านจะนั่งบนเก้าอี้เพียงองค์เดียว แขกทุกคนนั่งกับพื้นเสมอกันหมด ผู้ใดจะทำบุญถวายจตุปัจจัยหรือสิ่งของใดๆ แก่ท่าน หรือไม่ทำเลย ท่านก็มิได้ติดใจ ท่านสั่งสอนผู้ ที่ได้วิชชาธรรมกายให้ช่วยเหลือทุกคนโดยไม่หวังในลาภสักการะ เพียงมีอาหารยังชีพเป็นมื้อๆ เพื่อการ ปฏิบัติกิจภาวนาก็เพียงพอแล้ว ท่านถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้ที่ได้ธรรมกายทุกคน จะต้องแก้ไขความทุกข์ยาก ของทุกๆ คนที่มาหา ให้ต้อนรับด้วยอาการยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่ให้แสดงอาการเบื่อหน่ายหรือรังเกียจ ให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็ง อดทน บางคนพูดเรื่องไร้สาระ บางคนพูดแต่เอาประโยชน์ตน แต่หลวงปู่ ก็จะรับฟัง ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่ว่ากล่าวอะไร ไม่ว่าใครจะนำเรื่องใดมาปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือ ท่าน จะให้ผู้นั้นนั่งสมาธิภาวนาไป ส่วนท่านหรือผู้ที่ได้ธรรมกายที่ท่านสั่งให้ช่วยแก้ไขก็ทำหน้าที่ไป แล้วท่านก็ ช่วยแก้ไขให้ และแนะนำข้อประพฤติปฏิบัติให้ได้คลายจากทุกข์ มีความสุขด้วยกันทุกคน ทําวิชชา เป็นที่ทราบกันดีว่า หลวงปู่ท่านมีความมุ่งมั่นในการเจริญภาวนาเป็นที่สุด จะเห็นได้จากกิจวัตร ประจำวันของท่าน เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติธรรมแทบทั้งสิ้น และที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ท่านไม่ชอบออกไปนอกวัด เพราะเกรงจะเสียเวลาในการทำวิชชา หากสุดวิสัยจำเป็นต้องออกไป ท่านก็ จะรีบกลับ โดยไม่ยอมไปค้างคืนที่อื่นเลยนับแต่เป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำคำว่า “ทำวิชชา” ในที่นี้อาจ ไม่เป็นที่คุ้นเคยสำหรับบางท่าน และการจะอธิบายว่าการทำวิชชาคืออะไรนั้น ก็เป็นเรื่องค่อนข้างยาก และก็ยากต่อการทำความเข้าใจเช่นกัน เพราะเหตุที่เป็นเรื่องลึกซึ้งละเอียดอ่อน ผู้ที่จะเข้าใจเรื่องนี้ได้ดี ก็คือ ผู้ที่ได้ธรรมกายแล้ว และเคยมีประสบการณ์ในการทำวิชชามาก่อน ซึ่งในสมัยนั้นผู้ที่ทำวิชชาได้ ก็มีอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน เท่าที่ประมวลจากเรื่องราวการทำวิชชาในสมัยหลวงปู่วัดปากน้ำ พอจะกล่าวเพื่อความเข้าใจใน ระดับเบื้องต้นได้ว่า การทำวิชชา คือ การทำงานทางจิตชนิดหนึ่งของผู้ที่ได้ธรรมกายแล้ว โดยที่การ ทำงานชนิดนี้มีลักษณะของการศึกษาและค้นคว้าทางจิตไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีครูผู้เชี่ยวชาญ คือ หลวงปู่คอยควบคุมดูแลอยู่ด้วย เทียบกับในยุคนี้ก็ดูคล้ายๆ กับศาสตราจารย์ด้านใดด้านหนึ่ง นำคณะทำงานอยู่ในห้องปฏิบัติการในสาขาวิชาที่ตนเชี่ยวชาญฉะนั้น สถานที่ที่ใช้ทำวิชชาหรือที่เรียกว่า “โรงงานทำวิชชา” ในสมัยนั้นเป็นกุฏิหลังใหญ่ เป็นเรือนไม้ ภาคที่ 1 ประวัติ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) DOU 43
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More