ความรู้เบื้องต้นเรื่องวัฒนธรรมชาวพุทธ SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 13
หน้าที่ 13 / 169

สรุปเนื้อหา

บทที่ 1 ของหนังสือเล่มนี้นำเสนอความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมชาวพุทธ โดยอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคมที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันเพื่อความอยู่รอดและความสุข ขณะที่การพัฒนานิสัยทางสังคมและการอบรมสั่งสอนสมาชิกในสังคมมีความสำคัญในการสร้างความสงบสุข การพิจารณาในมุมมองนี้จะต้องคำนึงถึงบทบาทของสถาบันครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนานิสัยของบุคคล ซึ่งถ้าครอบครัวดำรงอยู่ด้วยความเข้มแข็ง จะช่วยสนับสนุนการสร้างสังคมที่มีคุณภาพ แต่หากขาดการฝึกอบรมที่ถูกต้อง อาจก่อให้เกิดปัญหาภายในครอบครัวได้

หัวข้อประเด็น

- ความสัมพันธ์ในสังคม
- การพัฒนานิสัยทางสังคม
- บทบาทของครอบครัว
- ปัญหาภายในครอบครัว
- การอบรมตามแนวพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ความนํา บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเรื่องวัฒนธรรมชาวพุทธ มนุษย์ทุกคนมีฐานะเป็นสมาชิกของสังคมที่ตนอาศัยอยู่ และมีความสัมพันธ์ด้านต่างๆ ต่อกัน ตลอดจนการพึ่งพาอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ โดยมีเป้าหมายเพื่อความอยู่รอดและความอยู่เป็นสุขของ มนุษย์เอง แต่เนื่องจากธรรมชาติมนุษย์มีอวิชชาหรือความไม่รู้เป็นพื้นฐาน ประกอบกับขาดการฝึกฝน พัฒนานิสัยทางสังคมที่มีประสิทธิภาพ จึงก่อให้เกิดปัญหาสังคมขึ้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับ ตัวมนุษย์เอง เพราะเมื่อมนุษย์สร้างสังคมมา สังคมจะสงบและคนในสังคมจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้ ย่อมขึ้นอยู่กับคุณภาพของสมาชิกที่ดีของสังคม เมื่อเกิดปัญหาทางสังคมขึ้น สมาชิกในองค์กรย่อมได้รับผลกระทบจากปัญหาทั้งทางตรงและ ทางอ้อม การอบรมสั่งสอน การฝึกฝนพัฒนานิสัยให้กับสมาชิกภายในสังคมดำรงตนอยู่ตามที่สังคมคาด หวังจึงเกิดขึ้น นับตั้งแต่สังคมบุพกาล จนถึงสังคมปัจจุบัน แต่สภาพการณ์ของสังคมปัจจุบันได้ผันแปรไป กล่าวคือการพัฒนาสังคมตามแบบอุตสาหกรรม สมาชิกในสังคมต่างต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการ พัฒนาสังคมแบบใหม่ แนวคิดและวิธีการฝึกฝนพัฒนานิสัยทางสังคมจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้ สอดคล้องกับรูปแบบของสังคมอุตสาหกรรม ครอบครัวเป็นสถาบันหน่วยย่อยที่สุดในสังคมที่มีบทบาทและอิทธิพลอย่างยิ่งในการฝึกฝนพัฒนา นิสัยของบุคลากรในสังคม สถาบันครอบครัวมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากสถาบันอื่นๆ คือเป็นสถาบัน แรกที่บุคคลได้มีโอกาสติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ครอบครัวจึงมีอิทธิพลต่อบุคคลและได้รับการไว้วางใจ จากบุคคลภายในครอบครัว เมื่อสถาบันครอบครัวมีความเข้มแข็ง บุคคลในครอบครัวสามารถทำหน้าที่และ ได้รับการฝึกฝนพัฒนานิสัยอย่างสมบูรณ์ ย่อมจะนำมาซึ่งความเป็นปึกแผ่นของครอบครัวและสังคมโดยรอบ แต่หากบุคลากรในครอบครัวไม่ได้รับการฝึกฝนพัฒนานิสัย หรือได้รับการฝึกฝนอบรมพัฒนานิสัยอย่าง ไม่ถูกต้อง ย่อมจะทำให้เกิดปัญหาทางครอบครัวขึ้นได้ ดังปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ครอบครัวประสบ ปัญหาต่างๆ มากมาย ได้แก่ ปัญหาการไม่มีเวลาให้กันและกัน ปัญหาการขาดความอบอุ่นในครอบครัว อัคคัญญสูตร, ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, มก. เล่ม 15 ข้อ 51-72 หน้า 145-165 - พระมหาบุญเพียร ปุญฺญวิริโย, แนวคิดและวิธีการขัดเกลาทางสังคมในสถาบันครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา, (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2544) หน้า 1 * รัชนีกร เศรษโฐ, สังคมวิทยาชนบท (กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2528), หน้า 126 4 DOU วั ฒ น ธ ร ร ม ช า ว พุ ท ธ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More