น้ำใจและความดีในสังคม SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 158
หน้าที่ 158 / 169

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของการมีน้ำใจในการช่วยเหลือผู้อื่น ขอให้เราหลีกเลี่ยงการรอให้คนอื่นทำดีก่อน นึกถึงคุณแม่ที่เลี้ยงเรามา และฝึกทำความดีโดยไม่หวังผลตอบแทน เช่นเดียวกับการดูแลต้นมะม่วงที่ไม่ให้ผล ยังควรรดน้ำและใส่ปุ๋ย การใช้ชีวิตกับน้ำใจจะสร้างความสุขในสังคม เพราะเงินซื้อไม่ได้

หัวข้อประเด็น

-น้ำใจในสังคม
-การตอบแทนความดี
-การใช้ชีวิตร่วมกัน
-อัตถจริยา
-การเลี้ยงดูและการช่วยเหลือ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แต่คนในโลกนี้มีลักษณะแปลกอยู่อย่างหนึ่ง คือ มักจะเกี่ยงให้คนอื่นทำความดีกับเราก่อน แล้ว จึงจะทำความดีกับคนอื่นได้ การตอบแทนภายหลัง นักศึกษาลองคิดดู ถ้าแม่ของเรานึกอย่างนี้บ้าง เราคง ไม่ได้โตมาจนถึงปัจจุบันนี้แน่นอน เราเคยทำอะไรให้คุณแม่บ้าง เมื่อท่านคลอดเราออกมา เราเคยไปทำ สัญญากับท่านไว้หรือไม่ ว่าเมื่อเราโตขึ้น เราจะเลี้ยงตอบแทนท่าน ก็เพราะท่านให้เราก่อน ชาตินี้แม้เรา เลี้ยงดูท่านกลับคืนก็ยังใช้คุณท่านไม่หมด เพราะฉะนั้น เราไม่ควรเป็นคนแล้งน้ำใจ ฝึกมีน้ำใจให้กับคนอื่น แล้วต่อไปเบื้องหน้าจะเป็นพ่อ เป็นแม่ของคนทั้งเมือง หากยังเป็นคนแล้งน้ำใจ ชาตินี้คงไม่ต้องทำความดีกัน แม้ถึงเราลำบาก เขาไม่ช่วย เราก็ไม่เป็นไร คิดเสียว่ายืดเส้นยืดสาย เราติตัวเองไม่ได้ เราได้ทำดีที่สุดแล้ว ถ้าคิดอย่างนี้แล้วเราจะสบาย ดังนั้นอย่าเป็นคนหวงแรง หากคิดอย่างนี้แล้ว ยังทำใจไม่ได้อีก บรรพบุรุษของเราท่านบอกว่าให้ดูต้นมะม่วงที่ขึ้นหน้าบ้านเรา ถ้ามีมะม่วงต้นใหญ่อายุกว่า 10 ปีแล้ว แต่ไม่เคยผลิดอกออกผลเลย ถ้ามะม่วงต้นนั้นขึ้นอยู่ที่บ้านนักศึกษา นักศึกษาจะทําอย่างไร 1. รดน้ำพรวนดิน ใส่ปุ๋ยอีก ถึงจะไม่ให้ลูกก็ไม่เป็นไร 2. เฉยๆ 3. โค่นทิ้งเสีย มะม่วงต้นนี้ จะไม่ถูกโค่น ถ้าผลประโยชน์ยังไม่ขัดกัน ต่อมามีมะม่วงต้นอื่นมาขึ้นอยู่ใกล้ๆ แล้ว ออกลูกทุกๆ ปี นักศึกษาคงเริ่มคิดแล้วว่า ถ้าต้นมะม่วงต้นนั้นไม่บังต้นมะม่วงที่มีลูก คงลูกดกกว่านี้ แล้ว จึงโค่นมะม่วงต้นที่ไม่มีลูกทิ้ง เมื่อใดที่ผลประโยชน์ขัดกัน จะไม่มีใครไว้หน้ากัน อยู่ในที่ทำงานเดียวกัน หากไร้น้ำใจกันแล้ว จะ ไม่มีใครไว้หน้ากัน ดังนั้นควรมีน้ำใจให้กันมากๆ แล้วเราจะอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข เพราะความสุขสบายของ มนุษย์ในหลายๆ กรณีซื้อไม่ได้ด้วยเงิน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้ศัพท์ว่า อัตถจริยา คือ บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ ถ้าพูดภาษาทั่วไปเรียกว่า ไม่แล้งน้ำใจ หรือมีน้ำใจ อยู่ที่ไหนไม่แล้งน้ำใจ หากแล้งน้ำใจกันแล้ว จะคล้ายต้นมะม่วงที่ปลูกมา 10 กว่าปี แล้วไม่มีลูก วันหลังก็จะถูกโค่นทิ้ง เมื่อถึงตรงนี้แล้ว ที่มีความรู้สึกกับพรรคพวกว่า เพื่อนไม่เข้าใจเรา รวม ทั้งไม่เข้าใจตัวเองด้วย ที่รู้สึกว่าอะไรวนๆ อยู่ พบว่าเป็นเพราะขาดสิ่งเหล่านี้ คือ ขาดตั้งแต่ ทาน รวม ทั้งนิสัยและมารยาทด้วย เพราะคนนิสัยดี มารยาทดี ก็เป็นทานอย่างหนึ่ง ขาดทั้ง ปิยวาจา ขาดทั้ง อัตถจริยา คือ ความพร้อมที่จะยื่นมือไปช่วยคนอื่น ถ้ามีพร้อมทั้ง 3 ประการนี้ ทุกอย่างจะดีขึ้นแน่นอน บทที่ 7 วั ฒ น ธ ร ร ม ก า ร อ ยู่ ร่ ว ม กัน DOU 149
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More