อาการท้องเฟ้อและโรคที่เกี่ยวข้อง SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 79
หน้าที่ 79 / 169

สรุปเนื้อหา

อาการท้องเฟ้อเกิดจากการรับประทานอาหารแล้วไม่ย่อย ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร การป้องกันและรักษาสามารถทำได้โดยการรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ผักและผลไม้ และไม่ควรรับประทานอาหารที่มันมากหรือทอด สำหรับโรคท้องเดิน อาจเกิดจากยาหรืออาหารเป็นพิษ ควรกินอาหารย่อยง่ายและดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ หากอาการไม่ดีขึ้นใน 48 ชั่วโมง ควรพบแพทย์ การรักษาโรคกระเพาะ ได้แก่ การหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาและการจัดการความเครียด สิ่งเหล่านี้ช่วยให้ควบคุมอาการของโรคได้ดียิ่งขึ้น

หัวข้อประเด็น

-อาการท้องเฟ้อ
-โรคท้องเดิน
-โรคกระเพาะ
-การป้องกันและรักษา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ท้องเฟ้อ อาการ คือ อาการที่รับประทานอาหารแล้วไม่ย่อย ทำให้อาหารบูดอยู่ในกระเพาะเป็นสาเหตุให้เกิดแก๊ส ในกระเพาะอาหาร การป้องกันและรักษา 1. รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ประเภทผักและผลไม้ 2. ไม่ควรรับประทานอาหารที่ติดมันมาก หรือของประเภททอด 3. ควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลา 4. กินยาลดกรด โรคท้องเดิน (ไม่รุนแรง) สาเหตุ อาจเกิดจากยา อาหารเป็นพิษ หรือจากเชื้อไวรัส การป้องกันและรักษา สูญเสียไป 1. กินอาหารย่อยง่าย รสไม่เผ็ด ไม่มันจัด 2. ดื่มสารละลายน้ำตาล เกลือแร่ หรือน้ำอัดลมใส่เกลือ น้ำข้าวใส่เกลือ แทนให้พอกับที่ร่างกาย 3. ถ้ามีไข้ ให้ใช้ยาลดไข้ 4. หยุดกินยา สารเคมี หรืออาหารที่สงสัยว่าเป็นต้นเหตุของอาการท้องเดิน 5. ควรพบแพทย์ - หากอาการไม่ทุเลาใน 48 ชั่วโมง อาเจียนมาก หรือดื่มน้ำได้น้อยมาก - เวลาลุกนั่งมีอาการใจหวิว หน้ามืด เป็นลม โรคกระเพาะ โรคกระเพาะ คือ อาการปวดท้องเนื่องจากกระเพาะเป็นแผล อันเกิดจากน้ำย่อยกัดกระเพาะอาหาร สาเหตุ 1. รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา 2. มีความเครียดสูง 70 DOU วั ฒ น ธ ร ร ม ช า ว พุ ท ธ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More