วัฒนธรรมการดูแลรักษาสุขภาพ SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 71
หน้าที่ 71 / 169

สรุปเนื้อหา

บทที่ 4 เน้นเรื่องวัฒนธรรมการดูแลรักษาสุขภาพ โดยอิงจากคำสอนในพระไตรปิฎกซึ่งระบุถึงเหตุการเกิดโรค 8 อย่างและธรรมที่เป็นเหตุให้มีอายุสั้นและอายุยืน นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงอาการเส้นติดที่เกิดจากการอยู่นิ่งนาน โดยสอนให้รู้จักดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันโรคต่างๆ ด้วยความรู้พื้นฐาน และเพื่อสุขภาพที่ดีในอนาคต โดยมุ่งเน้นที่การประพฤติปฏิบัติและใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี

หัวข้อประเด็น

-การดูแลรักษาสุขภาพ
-พระไตรปิฎก
-เหตุการเกิดโรค
-การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
-อาการเส้นติด

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 4 วัฒนธรรมการดูแลรักษาสุขภาพ การดูแลรักษาสุขภาพเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกคนต้องทราบ เพื่อจะได้มีความรู้พื้นฐานในการรักษา ตัวเองได้ และเพื่อป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นได้ 4.1 การดูแลรักษาสุขภาพจากพระไตรปิฎก 4.1.1 เหตุการเกิดโรค 8 อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โรค 8 อย่างเหล่านี้ คือ 1. อาพาธมีน้ำดีกำเริบเป็นสมุฏฐาน 2. อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน 3. อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน 4. อาพาธที่เกิดจากโรคดี โรคเสมหะ โรคลมมาประชุมกัน 5. อาพาธเกิดจากเปลี่ยนฤดู 6. อาพาธที่เกิดจากการบริหาร (ร่างกาย) ไม่ถูกต้อง 7. อาพาธที่เกิดจากการพยายาม (ทำให้ดีขึ้น) 8. อาพาธที่เกิดจากวิบากกรรม ในโรคทั้ง 8 อย่างนั้น มิจฉาทิฏฐิบุคคลปฏิเสธโรค 7 อย่างข้างต้น แล้วยอมรับแต่เฉพาะโรคชนิดที่ 8 เท่านั้น 4.1.2 ธรรมเป็นเหตุให้อายุสั้นและอายุยืน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุสั้น คือ 1. บุคคลไม่เป็นผู้ทำความสบาย แก่ตนเอง 2. ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย 3. ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่ย่อยยาก 4. เป็นผู้เที่ยวในกาล ไม่สมควร 5. ไม่ประพฤติประเสริฐ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุ คือ 1. บุคคลเป็นผู้ทำความสบายแก่ ตนเอง 2. รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย 3. บริโภคในสิ่งที่ย่อยง่าย 4. เป็นผู้เที่ยวในกาลสมควร 5. เป็นผู้ ประพฤติประเสริฐ 4.2 การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง 4.2.1 อาการเส้นติด เกิดจากการอยู่ในอิริยาบถเดียวนานๆ เช่น พิมพ์ดีด (เส้นติดที่คอ) นั่งรถ นั่งสมาธิ นั่งเขียน หนังสือนานๆ ปทุมธานี 1 เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนา พระภาวนาวิริยคุณ (พระเผด็จ ทตตชีโว) รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย จังหวัด 62 DOU วั ฒ น ธ ร ร ม ช า ว พุ ท ธ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More