พิธีกรวดน้ำในพระพุทธศาสนา SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 134
หน้าที่ 134 / 169

สรุปเนื้อหา

บทนี้อธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนและความหมายในการกรวดน้ำหลังการถวายไทยธรรมแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยเจ้าภาพจะนั่งห่างจากพระสงฆ์และเตรียมน้ำสำหรับกรวดน้ำ ขณะที่พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพจะตั้งใจรินน้ำไปพร้อมกับการอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ล่วงลับ โดยสามารถระบุชื่อบุคคลที่ต้องการอุทิศได้ และเสนอวิธีการกวาดน้ำในกรณีที่ใช้ภาชนะที่แตกต่างกันด้วย เช่น ขันหรือแก้วน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำไหลออกเปรอะเปื้อนพื้นหรือที่นั่ง

หัวข้อประเด็น

-ขั้นตอนการถวายไทยธรรม
-การกรวดน้ำและอุทิศส่วนบุญ
-ความหมายของการกรวดน้ำ
-การใช้ภาชนะสำหรับกรวดน้ำ
-การระบุชื่อผู้รับอุทิศส่วนบุญ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3) เมื่อถวายไทยธรรมแด่พระภิกษุสงฆ์เสร็จแล้ว เจ้าภาพหรือประธานในพิธีนิยมนั่งกับพื้น ห่างจาก พระภิกษุสงฆ์พอสมควร ประคองภาชนะที่ใส่น้ำสำหรับกรวดน้ำด้วยมือทั้งสองเตรียมกรวดน้ำ 4) เมื่อพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นหัวหน้าเริ่มอนุโมทนาว่า “ยะถา วาริวะหา.....” จึงรินน้ำให้ไหลลงเป็น สายโดยไม่ให้สายน้ำขาดตอนเป็นหยดๆ พร้อมทั้งตั้งใจสำรวมจิต อุทิศส่วนบุญส่วนกุศล ไปให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยนึกในใจว่า อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงมีความสุขเถิด 5) คำกรวดน้ำนี้ จะใช้แบบอื่นก็ได้ หรือจะนึกคิดเป็นภาษาไทยให้มีความหมายว่า อุทิศส่วนบุญ ไปให้แก่ผู้นั้นผู้นี้ โดยระบุชื่อลงไปก็ได้ 6) ถ้าภาชนะที่กรวดน้ำมีปากกว้าง เช่น ขัน หรือแก้วน้ำ นิยมใช้นิ้วชี้มือขวารองรับสายน้ำ ให้ไหลไปตามนิ้วชี้นั้น เพื่อป้องกันมิให้น้ำไหลลงเปรอะเปื้อนพื้นหรืออาสนะ ถ้าภาชนะปากแคบ เช่น คนโท หรือที่กรวดน้ำโดยเฉพาะ ก็ไม่ต้องรอง เพียงใช้มือทั้งสองประคองภาชนะน้ำนั้นรินลง 7) เมื่อตั้งใจอุทิศเป็นการส่วนรวมแล้ว จะอุทิศส่วนบุญเฉพาะเจาะจงผู้ใดผู้หนึ่งต่อก็ได้ โดยระบุ ชื่อบุคคลนั้นลงไปให้ชัดเจน บ ท ที่ 6 ศ า ส น พิ ธี DOU 125
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More