การถวายทานและพิธีสังฆทานในพระพุทธศาสนา SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 119
หน้าที่ 119 / 169

สรุปเนื้อหา

การถวายทานเป็นการทำให้ใจสุขและเกิดบุญกุศล การเตรียมของตักบาตรควรใส่ใจที่ความเหมาะสมของอุณหภูมิอาหาร โดยควรยกของถวายด้วยความเคารพและกล่าวคำถวายทาน การถวายสังฆทานคือการถวายวัตถุให้แก่สงฆ์เพื่อพระสงฆ์ใช้สอยร่วมกัน ผู้ถวายต้องมีจิตใจที่บริสุทธิ์และตั้งใจดีในการถวาย โดยก่อนการถวายจะต้องตั้งนะโม, กล่าวคำถวายและประเคนทานวัตถุ เมื่อเสร็จสิ้นจะมีกิจกรรมกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่รัก.

หัวข้อประเด็น

-การถวายทาน
-พิธีถวายสังฆทาน
-หลักการถวายของตักบาตร
-ความสำคัญของบุญกุศล
-วัตถุที่ควรใช้ในสังฆทาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บังเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มคิด ขณะทำก็ไม่นึกเสียดาย ให้มีใจเป็นสุข หลังจากให้ไปแล้วก็ปลื้มปีติยินดีในทานนั้น ไม่นึกเสียดายในภายหลัง บุญกุศลจึงจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในการเตรียมของตักบาตร เช่น ข้าวสาร อาหารแห้งหรือคาวหวาน ถ้าของสดพึงระวังอย่าให้ข้าวและอาหารนั้นๆ ร้อนหรือเย็นจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดความลำบากแก่พระภิกษุสงฆ์หรือสามเณร ที่ต้องอุ้มบาตรต่อไปในระยะทางไกล ของ ที่ใส่บาตรนั้นนิยมปฏิบัติเป็นธรรมเนียมว่าให้ยกขึ้นจบ (ยกขึ้นสูงระดับหน้าผาก ด้วยท่าประนมมือโดยอนุโลม) แล้วนิมนต์พระภิกษุสงฆ์หรือสามเณรว่า นิมนต์ครับ หรือนิมนต์ค่ะ เมื่อท่านเดินผ่านมาในระยะใกล้ แล้วใส่ของลงในบาตร กล่าวคำถวายทานว่า สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุฯ แปลว่า ทานที่ข้าพเจ้าให้แล้วด้วยดีหนอ จงเป็นเครื่องกำจัดอาสวกิเลส ออกไปจากใจของ ข้าพเจ้าด้วยเถิด เมื่อใส่บาตรเสร็จแล้วนิยมทำการกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลผลบุญแก่ผู้อื่นอันเป็นที่รักด้วย ช่วย ทำให้เกิดความอิ่มเอิบใจ เป็นสุขแก่ผู้ปฏิบัติ 6.1.2 พิธีถวายสังฆทาน คือ การถวายวัตถุที่ควรเป็นทานแก่สงฆ์ มิได้เจาะจงแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง หากเจาะจงเฉพาะรูป เรียกว่า ปาฏิบุคลิกทาน ไม่ต้องมีพิธีกรรมอะไรในการถวาย ส่วนสังฆทานนั้นเป็นการถวายกลางๆ ให้สงฆ์ เฉลี่ยกันใช้สอย จึงมีพิธีกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะการถวายและการอนุโมทนาของสงฆ์ สังฆทานมีแบบแผนมาแต่ครั้งสมัยพุทธกาล ผู้รับจะเป็นพระภิกษุหรือสามเณร หรือพระสังฆเถระ หรือพระอันดับชนิดไรๆ เมื่อสงฆ์จัดไปให้ ผู้ถวายต้องตั้งใจต่อพระอริยสงฆ์ คือ อุทิศถวายเป็นสงฆ์จริงๆ ผู้รับรับในนามของสงฆ์เป็นส่วนรวม จึงเป็นการถวายสังฆทานด้วยใจที่เป็นกุศล อิ่มเอิบเบิกบานใน การถวายทาน วัตถุที่ถวายจะมากน้อยอย่างไรตามแต่สมควร ประกอบด้วยภัตตาหารและบริวารของใช้ ที่เหมาะแก่สมณบริโภค ถวายกี่รูปก็ได้แล้วแต่ศรัทธา จะถวายที่วัดหรือสถานที่อื่นๆ เช่น ที่บ้านหรือสถาน ที่ประกอบพิธีก็ได้ การถวายสังฆทานนั้น เริ่มด้วยการจุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย (ถ้ามี) แล้วอาราธนาศีล และ สมาทานศีล จากนั้นผู้ถวายทานประนมมือ ตั้งนะโม 3 จบ กล่าวคำถวายสังฆทาน เสร็จแล้วประเคน ทานวัตถุแด่พระภิกษุสงฆ์ หลังจากประเคนถวายพระภิกษุสงฆ์แล้ว เมื่อพระสงฆ์ผู้นำสวดอนุโมทนาด้วยบท “ยะถา วาริวหา....” ผู้ถวายทานเริ่มกรวดน้ำ ถึงบทที่พระสงฆ์ผู้นำสวดถึง “มณีโชติรโส ยะถา” ก็ให้หยุดการกรวดน้ำ แล้ว ทานสูตร, อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 308 หน้า 628-629 110 DOU วั ฒ น ธ ร ร ม ช า ว พุ ท ธ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More