หน้าที่และความรับผิดชอบในชีวิต SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 160
หน้าที่ 160 / 169

สรุปเนื้อหา

บทความนี้มีการเน้นย้ำถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่ทุกคนต้องมีในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาและผู้มีบทบาทต่างๆ ในการทำงานให้ดีที่สุด สำหรับภิกษุสงฆ์ได้มีการกล่าวถึงการแสดงธรรมเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ประชาชน โดยมีตัวอย่างการทำงานแบบจริงใจที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เพื่อแสดงถึงความสำคัญของการทำหน้าที่ให้เต็มที่ ทุกคนควรตรวจสอบหน้าที่ของตนเองว่าทำครบถ้วนหรือยังและยังมีการเชื่อมโยงถึงสัจจะซึ่งคือความจริงใจต่อตนเองและการทำงาน แม้ผู้ที่มีหน้าที่ต่างก็ต้องแสดงความรับผิดชอบอย่างเต็มที่เพื่อความสมบูรณ์ในชีวิตและสังคมโดยรวม.

หัวข้อประเด็น

-หน้าที่ในชีวิต
-ความรับผิดชอบ
-สัจจะในงาน
-การทำงานอย่างจริงใจ
-การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

“ภิกษุทั้งหลาย..... พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก จงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และ ในที่สุดจงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ สัตว์ที่มีกิเลส น้อยบางเบามีอยู่ แต่เพราะไม่ได้ฟังธรรมจักเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี ภิกษุทั้งหลาย แม้ เราเองก็จักไปยังอุรุเวลาเสนานิคมเพื่อแสดงธรรม” ทําครบ แม้พระภิกษุสงฆ์ยังมีหน้าที่อย่างนี้ ดังนั้นนักศึกษาทุกท่านซึ่งต้องทำงานกันอยู่ในขณะนี้ หน้าที่ก็ยิ่ง มีประจำตัวกันมากมาย จึงขอให้นักศึกษาทุกท่านทำงานตามหน้าที่ของตัวเองให้ดี แล้วสำรวจด้วยว่าหน้าที่ ของเรามีอะไรบ้าง ทำครบหรือยัง หากยังไม่ครบก็ให้รีบทำให้ครบ หน้าที่เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ หรือยัง ถามตัวเอง แล้วหน้าที่ของท่านที่เป็นพ่อแม่ ให้ดูลูกๆ ให้ดี ทำสมบูรณ์แล้วหรือยัง ขอให้ ทุกคนทำ หน้าที่ของตัวเองให้สมบูรณ์ แล้วความปลอดภัยจะมี ทุกอย่างจะสมบูรณ์ สิ่งที่ทำให้คนทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ คือ “สัจจะ” สัจจะ คือ ความจริงใจที่มีต่อหน้าที่การงาน และเพราะความรับผิดชอบไม่พอ จึงเกิดความไม่สมบูรณ์ ขึ้น ความหมายของคำว่า สัจจะ คือ จริง ตรง แท้ 1. จริงต่อหน้าที่ เช่น สามีก็รับผิดชอบต่อหน้าที่สามี ไม่ปันใจให้หญิงอื่น เป็นตำรวจก็จริงใจ ต่อหน้าที่ตำรวจ ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ทุ่มไปกับหน้าที่ของตนให้หมด 2. จริงต่อการงาน พอมีหน้าที่ก็มีงานตามมาโดยอัตโนมัติ เป็นสามีก็มีงานของสามี เป็นลูกก็มีงาน ของลูก เป็นทหารก็มีงานของทหาร ต้องป้องกันราชอาณาจักร คนที่จริงต่อการงาน ไม่ว่าจะ ทำหน้าที่อะไรให้ทุ่มทำงานในหน้าที่นั้นให้หมด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวถึงเรื่องทำนองนี้ไว้ครั้งหนึ่งว่า “ราชสีห์ เวลาตะปบช้างเอามากิน มันจะตะปบด้วยความ ระมัดระวัง ทำอย่างดีที่สุด แม้สัตว์เล็กลงมาหน่อย เช่น เสือ ก็ตะปบด้วยความระมัดระวังเหมือนกันแม้ที่สุดจะตะปบสัตว์ตัวเล็กๆ ไม่มีเขี้ยวเล็บ มากินสักตัว ก็ตะปบด้วยความระมัดระวังเท่าเทียม กัน”2 เรื่องพ้นจากบ่วง, พระวินัยปิฎก มหาวรรค, มก. เล่ม 6 ข้อ 32 หน้า 72 * มโนรถบูรณี, อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มก. เล่ม 36 บ ท ที่ 7 วั ฒ น ธ ร ร ม ก า ร อ ยู่ ร่ ว ม กัน DOU 151
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More