ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 5
มารยาทชาวพุทธ
เรามักเข้าใจว่า มารยาทเป็นเรื่องของการปรับตัวให้เข้ากับสังคม เพื่อความงดงาม น่าดู
เพื่อการยอมรับเข้าเป็นหมู่คณะเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วเรื่องเบื้องหลังลึกซึ้งเกี่ยวกับต้นบัญญัติของมารยาท
ที่เรายอมรับกันอยู่ในปัจจุบัน ถ้าเราย้อนกลับมาสำรวจตัวเอง จะพบว่าในตัวเราเองนั้นมีแต่สิ่งที่ไม่งาม
เกือบทั้งสิ้น ของเสียที่ขับออกมาจากร่างกายทั้งหลายนั้นไม่น่าพิสมัยทั้งนั้น จึงเป็นปัญหาว่าทำอย่างไร
ที่จะไม่ให้ความไม่น่าดูเหล่านั้นไปรบกวนผู้ที่อยู่รอบข้าง จะทำอย่างไรจึงจะป้องกันการกระทบกระทั่งอันเกิด
จากความไม่งามของสิ่งเหล่านั้น จากปัญหาเหล่านี้ได้มีการบัญญัติมารยาทขึ้นเป็นกฎเกณฑ์ใช้สืบต่อกันมา
ต้นบัญญัติมารยาทต่างๆ ที่เก่าแก่และถือเป็นต้นแบบของมารยาทไทยปัจจุบัน คือ “เสขิยวัตร” ซึ่งเป็น
หมวดพระวินัยในพระพุทธศาสนา
ความสง่างามในศีลาจารวัตรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังความเลื่อมใสศรัทธาแก่
ผู้พบเห็น และพระพุทธองค์ทรงอบรมสั่งสอนพระภิกษุสงฆ์ให้มีศีลาจารวัตรงดงามเรียบร้อย โดยทรง
บัญญัติหมวดพระวินัยเสขิยวัตรขึ้น
ครั้นเมื่อพระภิกษุสงฆ์ปฏิบัติตามพระวินัยหมวดนี้แล้ว ทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย สงบ
สำรวม สง่างาม แก่ผู้ที่มาพบเห็น เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระรัตนตรัย ตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษไทยต่อมา
จนกระทั่งถึงปัจจุบัน พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลึกลงในประเทศไทย ชนชาติไทยได้คุ้นเคยกับศีลา
จารวัตรอันงดงามของพระภิกษุสงฆ์จนซึมซับและถ่ายทอดกิริยามารยาทที่นุ่มนวลนั้น อบรมสั่งสอนลูก
หลานสืบทอดต่อๆ กันมา
เสขิยวัตรจึงเปรียบเหมือนเพชรน้ำหนึ่งที่ทำให้คนไทยพิเศษ มีความอ่อนโยน นุ่มนวล น่ารัก
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ค่อยมีปรากฏในชนชาติอื่นมากนัก จึงสมควรที่ลูกหลานไทยยุคปัจจุบันจะต้องกลับมาทบทวน
ฝึกฝนตนเองอีกครั้งหนึ่งเพื่อรักษาวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า และเป็นเอกลักษณ์ของชนชาวไทย
5.1 คำจำกัดความ
ดังนี้
คำว่า “มารยาท” หรือ “มรรยาท” นั้น ในหนังสือสันสกฤต-ไทย-อังกฤษอภิธาน ได้ให้คำแปลไว้
มรยาทา : มรรยาท, เขตแดน, propriety of conduct, a boundary, a limit.
บ ท ที่ 5 ม า ร ย า ท ช า ว พุ ท ธ
DOU 77