ปัจจัย 4 และหน้าที่การงาน SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 26
หน้าที่ 26 / 169

สรุปเนื้อหา

ปัจจัย 4 ประกอบด้วย อาหาร การแต่งกาย ที่อยู่อาศัย และการรักษาสุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตั้งแต่การคิดกินอาหารในทุกวัน ไปจนถึงการเลือกเสื้อผ้าและการเตรียมที่อยู่อาศัยเพื่อรับมือกับสภาพอากาศ นอกจากนี้ หน้าที่การงานที่แต่ละคนรับผิดชอบยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้คนต้องมีการวางแผนและคิดในทุกๆ วัน โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงครอบครัวและการเลี้ยงดูเด็ก สิ่งเหล่านี้ทำให้ชีวิตมีทิศทางและความหมายมากขึ้น ในทางพุทธศาสนา ยังมีหลักเกณฑ์ในการบริโภคที่ช่วยให้เราเลือกสรรอาหารได้อย่างเหมาะสม เพื่อการรักษาชีวิตและร่างกายให้อยู่ในสภาพที่ดี.

หัวข้อประเด็น

-ปัจจัย 4
-หน้าที่การงาน
-อาหารและสุขภาพ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1) ปัจจัย 4 ได้แก่ ปัจจัยที่ 1 อาหารการกิน เช่น ตั้งแต่เกิดจนตาย คนทุกคนต้องย้ำคิด พูด ทำในเรื่องกินก่อนทั้งนั้น เช่น พอตื่นเช้า ก่อนออกไปทำงาน หรือไปเรียนหนังสือก็คิดแล้วว่า วันนี้จะกินอะไรดี หรือแม้แต่พระท่าน พอรุ่งเช้าขึ้นมา ท่านก็ต้องคิดว่า จะไปบิณฑบาตที่ไหนดี ปัจจัยที่ 2 เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม เช่น พอตื่นเช้าขึ้นมา ทุกๆ วันก็จะต้องคิดว่า วันนี้จะแต่งตัวอย่างไรดี หรือเวลาไปห้าง สรรพสินค้าผ่านร้านเสื้อผ้า ก็อดคิดไม่ได้ว่า เราจะซื้อเสื้อตัวไหนดี ปัจจัยที่ 3 เรื่องที่อยู่อาศัย เช่น ถ้าฝนตก แดดจ้า เราก็ต้องคิดว่า จะไปหลบฝนที่ไหนดี หรือถ้าตกกลางคืนง่วงนอนขึ้นมา เรา ก็คิดว่า คืนนี้เราจะไปนอนที่ไหนดี ปัจจัยที่ 4 เรื่องการรักษาสุขภาพ เช่น ถ้าเจ็บป่วยไข้ไม่สบายขึ้นมา ก็ต้องคิดว่า กินยาอะไรจึงจะหาย หรือไปหาหมอรักษาที่ไหนดี ปัจจัย 4 จึงเป็นเรื่องแรกที่คนเราย้ำคิด พูด ทำอยู่ทุกวัน 2) หน้าที่การงานที่ตนเองรับผิดชอบ เช่น ถ้ามีหน้าที่เป็นคุณพ่อคุณแม่ สิ่งที่คิด พูด ทำจนตลอดชีวิตก็คือ งานเลี้ยงลูก เป็นห่วงว่าลูกจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นต้น ตลอดชีวิตของคนเรา จึงย้ำคิด พูด ทำอยู่สองเรื่องนี้ คือ ปัจจัย 4 และหน้าที่การงาน ที่ตนเองรับผิดชอบ ส่วนเรื่องอื่นๆ นอกจากนี้ ย้ำไม่มากเท่าไร 2.3.1 อาหารกับการเพาะนิสัย อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก มนุษย์หรือสัตว์จำเป็นจะต้องบริโภคอาหาร เพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายและชีวิตให้ดำรงอยู่ได้ การบริโภคอาหารของมนุษย์เริ่มต้นมีมาตั้งแต่เกิดมนุษย์ คนแรกขึ้นในโลก และพัฒนาการกิน การบริโภคไปตามวัฒนธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นมาในแต่ละสังคม แต่การ บริโภคก็ควรมีหลักเกณฑ์เฉพาะส่วนที่จำเป็น ในฐานะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ในทางพระพุทธศาสนา ได้วางหลักเกณฑ์ในการบริโภคสิ่งของต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องอาหารนี้มากพอสมควร เริ่มตั้งแต่การได้ * อัคคัญญสูตร, ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, มก. เล่ม 15 ข้อ 55-62, หน้า 150-160 บ ท ที่ 2 ก า ร ฝึ ก ฝ น พั ฒ น า ห รื อ การเพาะนิสัย... DOU 17
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More