ข้อความต้นฉบับในหน้า
ทั้ง 4 เรื่องนี้ เป็น “คุณเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น 4 อย่าง” ประกอบด้วย
1. ทาน รวมทั้งมารยาทด้วย
2. ปิยวาจา กลั่นกรองคำพูดของเราให้ดี
3. อัตถจริยา บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์
4. สมานัตตตา ทำตัวให้สมกับหน้าที่ของตัว คือ รับภาระหน้าที่รับผิดชอบให้เป็น แล้วปัญหาต่างๆ
ที่เกิดขึ้นจะหมดไปเอง เพราะเห็นตัวเองชัดแล้ว
แม้คนอื่นก็ไม่ต่างจากเรามีความไม่สมบูรณ์เหมือนกัน แต่ถ้าบอกกันตรงๆ เขาจะรู้สึกเสียหน้า แล้ว
ก็ตอกเรากลับมา ทำให้เกิดความบาดหมางใจกัน ดังนั้นนักศึกษาควรศึกษาเรื่องนี้ให้ดี แล้วนำไปสอดส่อง
ดูตนเอง แก้ไขความผิดพลาดต่างๆ ที่มีอยู่แล้วทุกอย่างจะค่อยๆ สมบูรณ์ขึ้น ทุกคนในสังคมจะอยู่ร่วมกัน
อย่างมีความสุข
7.2 อปริหานิยธรรม 7
การที่จะทำงานใหญ่ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีนั้น ต้องอาศัยกำลังคนจำนวนมาก ใช้กำลังสติปัญญา
กำลังกาย กำลังใจร่วมกัน แต่เมื่อหมู่ชนใดรวมกันหมู่ใหญ่ ปัญหาต่างๆ ความขัดแย้งต่างๆ และ ความกระทบ
กระทั่งก็จะมากขึ้นไปตามส่วน เพราะแต่ละคนมีพื้นฐานการเจริญเติบโต การศึกษา สภาพแวดล้อมแตกต่างกัน
ถ้าไม่มีหลักการอันแน่นอน และมีประสิทธิภาพควบคุมไว้ หมู่คณะนั้นย่อมไม่อาจทำงานใหญ่ให้สัมฤทธิผลได้
“อปริหานิยธรรม” 1 เป็นธรรมะอันเป็นที่ตั้งแห่งความไม่รู้จักเสื่อม เป็นเหตุที่ตั้งแห่งความสามัคคี
ความเป็นปึกแผ่นทั้งในบ้านเรือน ทั้งในหมู่คณะ แม้ในที่สุดทั้งในประเทศชาติของเรา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสเสมอว่า “ธรรมะหมวดนี้ไม่ควรละ ถ้าละกันเมื่อใด เมื่อนั้นหมู่คณะจะเสื่อม”
7.2.1 ปฐมเหตุที่แสดงอปริหานิยธรรม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงอปริหานิยธรรมครั้งแรกแก่กษัตริย์ลิจฉวีแห่งแคว้นวัชชี เมื่อ
คราวประทับ ณ สารันทเจดีย์ ใกล้เมืองเวสาลี เหตุที่ทรงแสดงธรรมเรื่องนี้ ก็เพราะกษัตริย์ลิจฉวีเหล่านั้น
มาทูลขอหลักในการปกครองประเทศแบบสภากษัตริย์
ประเทศอินเดียในสมัยพุทธกาล แบ่งการปกครองออกเป็นแคว้นใหญ่น้อยมากมาย แต่ละแคว้นมี
รูปแบบการปกครองที่แตกต่างกันออกไป เช่น แคว้นมคธของพระเจ้าพิมพิสารและแคว้นโกศล
พระภาวนาวิริยคุณ (ผเด็จ ทตตชีโว), ทำงานเป็นทีม อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยอปริหานิยธรรม, (กรุงเทพฯ :
นิวในเต็ก, ม.ป.ป.), หน้า 1
บทที่
บ ท ที่ 7
วั ฒ น ธ ร ร ม ก า ร อ ยู่ ร่ ว ม กั น DOU 153