ข้อความต้นฉบับในหน้า
วัจจกุฎีวัตร
ภิกษุใดไปวัจจกุฎี
1. ภิกษุนั้นยืนอยู่ข้างนอก ซึ่งกระแอมขึ้น แม้ภิกษุผู้นั่งอยู่ข้างในก็พึงกระแอมรับ
2. พึงพาดจีวรไว้บนราวจีวร หรือบนสายระเดียง แล้วเข้าวัจจกุฎี
3. ทำให้เรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน
4. ไม่พึงเข้าไปเร็วนัก
5. ไม่พึงเลิกผ้าเข้าไป
6. ยืนบนเขียงถ่ายอุจจาระ แล้วจึงค่อยเวิกผ้า
7. ไม่พึงถอนหายใจใหญ่พลางถ่ายอุจจาระ
8. ไม่พึงเคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระ
9. ไม่พึงถ่ายอุจจาระนอกรางอุจจาระ
10. ไม่พึงถ่ายปัสสาวะนอกรางปัสสาวะ
11. ไม่พึงบ้วนเขฬะลงในรางปัสสาวะ
12. ไม่พึงชำระด้วยไม้หยาบ
13. ไม่พึงทิ้งไม้ชำระลงในช่องถ่ายอุจจาระ
14. ยืนบนเขียงถ่ายแล้วจึงปิดผ้า
15. ไม่พึงออกมาเร็วนัก ไม่พึงเลิกผ้าออกมา
16. ยืนบนเขียงชำระแล้วจึงเลิกผ้า
17. ไม่พึงชำระให้มีเสียงดังจะจะ
18. ไม่พึงเหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระ
19. ยืนบนเขียงชำระแล้วจึงปิดผ้า
20. ถ้าวัจจกุฎีอันภิกษุถ่ายไว้เลอะเทอะ ต้องล้างเสีย
21. ถ้าตะกร้าใส่ไม้ชำระเต็ม จึงเทไม้ชำระ
22. ถ้าวัจจกุฎีรก จึงกวาดวัจจกุฎี
23. ถ้าชานภายนอก บริเวณ ซุ้มประตูรก จึงกวาดเสีย
24. ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี จึงตักน้ำมาไว้ในหม้อชำระ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัจจกุฎีวัตรของภิกษุทั้งหลาย ซึ่งภิกษุทั้งหลาย พึงประพฤติเรียบ
ร้อยในวัจจกุฎี
2
วัจจกุฎีวัตร หมายถึง การปฏิบัติต่างๆ ในการใช้ห้องน้ำห้องส้วม
สายระเดียง เรียกสายสําหรับตากผ้าสบงจีวร เป็นต้นของพระภิกษุสามเณรว่าสายระเดียง
3
เขฬะ หมายถึง น้ำลาย
4
จะปุจะปุ หมายถึง เสียงอันเกิดจากการขับถ่าย
บทที่ 3 วั ฒ น ธ ร ร ม ก า ร ใ ช้ และ การดูแล รั ก ษ า ปั จ จั ย 4 DOU 49