ข้อความต้นฉบับในหน้า
6.6 ระเบียบปฏิบัติในงานอวมงคล
6.6.1 ขั้นตอนพิธีกรรมเนื่องในงานอวมงคล
การทำบุญเนื่องในงานอวมงคล ได้แก่ งานทำบุญซึ่งปรารภเหตุที่ไม่เป็นมงคล เช่น ปรารภ
การตายของบิดามารดา ครู อาจารย์ หรือญาติมิตร เป็นต้น ทำบุญในงานฌาปนกิจบ้าง 7 วัน 50 วัน
100 วันบ้าง ทำบุญเนื่องในวันคล้ายวันตายบ้าง เพื่อให้เหตุร้ายกลายเป็นดี เพื่อบรรเทาความเศร้าโศก
การทำบุญในกรณีเช่นนี้ มีพิธีนิยม ส่วนมากเหมือนกับทำบุญในงานมงคล ดังกล่าวมานี้ แต่มีข้อต่างกัน
บ้างดังต่อไปนี้
1. จำนวนพระสงฆ์ที่นิมนต์สวดพระพุทธมนต์ เมื่อครบกำหนดวันทำบุญ นิยมนิมนต์พระ 7 รูป
บ้าง 10 รูปบ้าง ถ้าเป็นงานพระราชพิธี นิยมนิมนต์ 10 รูป เป็นพื้น สวดพระอภิธรรมนิมนต์ 4 รูป เป็น
เกณฑ์ ถ้ามีบังสุกุลหรือมีสวดแจง ไม่จำกัดจำนวนแน่นอน ตามกำลังศรัทธา 10-20-50-100 รูป หรือมาก
กว่านี้ก็มี แล้วแต่ฐานะของทางเจ้าภาพ แต่ส่วนมากนิยมนิมนต์เท่าอายุผู้ตาย
การเทศน์ในงานศพ นิยมมีพระสวดรับเทศน์นี้ด้วย 4 รูป ไม่มีพระสวดรับก็ได้ส่วนพระที่แสดงธรรม
เทศน์อานิสงส์หรือเทศน์ปฐมสังคายนา หรือเทศน์เรื่องอื่นๆ นิยมรูปเดียวก็มี 2-3 รูปก็มี ตามฐานะเจ้าภาพ
2. การสวดมนต์ในงานอวมงคล ไม่ต้องตั้งบาตร หรือหม้อน้ำมนต์ ไม่ต้องวางด้ายสายสิญจน์
ที่โต๊ะหมู่บูชา คงใช้แต่ผ้าภูษาโยง ถ้าไม่มีผ้าภูษาโยงจะใช้ด้ายสายสิญจน์แทนก็ได้ เรียกว่าสายโยง โยง
จากฝาหีบทางด้านศีรษะศพมาวางไว้บนพานใกล้โต๊ะหมู่บูชา หรือใกล้พระภิกษุผู้เป็นประธาน
3. เมื่อถึงเวลากำหนด พระสงฆ์เข้านั่งยังอาสน์สงฆ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ถ้าพระสวดอภิธรรม
เจ้าภาพในงานพึงจุดเทียนธูปที่หน้าโต๊ะพระพุทธรูปก่อน แล้วจุดที่หน้าตู้พระธรรมที่หลัง เสร็จแล้ว
อาราธนาศีลต่อไป พระให้ศีลแล้ว ไม่ต้องอาราธนาธรรม แต่บางแห่งอาราธนาธรรมก็มี
ถ้าสวดพระพุทธมนต์ เมื่อพระให้ศีลจบแล้ว ต้องอาราธนาพระปริตรอย่างเดียว ต่อเมื่อ
พระเทศน์ขึ้นธรรมมาสน์ ไม่ต้องอาราธนาด้วยวาจา เมื่อเจ้าภาพเห็นว่าได้เวลาตามที่กำหนดแล้ว ก็จุด
เทียนหน้าธรรมมาสน์ เรียกว่าจุดเทียนบูชาพระธรรม พระผู้แสดงธรรมที่จะขึ้นสู่ธรรมาสน์ โดยถือเป็น
ธรรมเนียมว่าการจุดเทียนหน้าธรรมาสน์ เป็นการอาราธนาธรรม มีธรรมเนียมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งควร
กำหนดไว้เป็นพิเศษคือ เครื่องทองน้อยหน้าศพตามปกติ ถ้าเจ้าภาพตั้งไว้เพื่อเคารพศพ ตั้งเครื่องทองน้อย
ให้ดอกไม้หันเข้าหาศพธูปเทียนหันออกข้างหน้า หันธูปเทียนเข้าหาศพ ทั้งนี้เพื่อให้ศพได้บูชาพระธรรม
เทศนาด้วย และจุดเมื่อพระเริ่มเทศน์เท่านั้น หลังจากรับศีลแล้ว ถ้าไม่มีศพแต่เจ้าภาพมีความประสงค์
จะให้มีเทศน์ เพื่อระลึกถึงอุปการคุณ จะจุดเครื่องทองน้อยตั้งไว้ข้างหน้าตนเองเพื่อบูชาพระธรรมก็ได้
*ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.dhammathai.org/store/sasana2/pape7.php-pape8.php
134 DOU วั ฒ น ธ ร ร ม ช า ว พุ ท ธ