การทำงานเป็นทีมและความสำคัญของการอยู่ร่วมกัน SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 164
หน้าที่ 164 / 169

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากการทำงานเป็นทีมและการอยู่ร่วมกันในครอบครัว โดยเฉพาะเมื่อสมาชิกในทีมหรือครอบครัวมีความสามารถที่แตกต่างกัน หากไม่มีการบริหารความรับผิดชอบที่เหมาะสมและการสมานฉันท์กันอาจนำไปสู่การขัดแย้งภายใน การดำรงอยู่ร่วมกันและการรับประทานอาหารพร้อมกันเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความสามัคคี และถ้าครอบครัวใดยังไม่มีการทำความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ ก็อาจทำให้เกิดความไม่พอใจและปัญหาภายในได้ เช่น การรับประทานอาหารไม่พร้อมกันอาจทำให้เกิดความน้อยใจในสมาชิกครอบครัว โดยปัญหาอาจขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัวแตกแยกได้ในที่สุด

หัวข้อประเด็น

- ปัญหาการทำงานเป็นทีม
- สำคัญของการอยู่ร่วมกัน
- อปริหานิยธรรมในครอบครัว
- ความสามัคคีภายในองค์กร
- การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เพราะได้รับการอบรมมาต่างกัน บุคลิกเฉพาะตัวของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนแค่เห็นหน้าไม่ทันทำอะไร ก็ไม่ถูกชะตากันเสียแล้ว แต่ต้องมาทำงานร่วมกัน 2. การบริหารงาน การแบ่งสรรส่วนงาน และการมอบหมายความรับผิดชอบไม่เหมาะสม 3. การสมานไมตรีกันเองในหมู่คณะ และการติดต่อสัมพันธ์กับหมู่คณะอื่นยังไม่ดีพอ สาเหตุใหญ่ๆ ทั้ง 3 ประการนี้ ถ้าเกิดกับทีมงานที่เป็นทีมใหญ่ และคนในทีมแต่ละคนล้วนแต่มี ฝีมือเยี่ยมๆ หรือที่เรียกกันตามภาษาชาวบ้านว่า “รอบจัด” แทนที่จะดีกลับไม่ได้งานเพราะไม่มีใครยอมลง ให้กัน 7.2.4 ทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ อปริหานิยธรรมเป็นธรรมที่จำเป็นสำหรับหมู่คณะทุกระดับแม้ในครอบครัวเล็กๆถ้าขาดอปริหานิย ธรรมก็อาจจะเจอปัญหาถึงขั้นบ้านแตกสาแหรกขาดได้เหมือนกัน บางครอบครัว ทั้งที่พ่อแม่อยู่ร่วมกันดีๆ แต่ลูกๆ กลับไม่ถูกกันไม่มีความสามัคคีกันเลย บางครอบครัว สามีไปปันใจให้หญิงอื่น หรือภรรยานอกใจ เมื่อสาวดูลึกๆ จะพบว่า สาเหตุที่แท้จริง คือ ครอบครัวบกพร่องใน อปริหานิยธรรมข้อใดข้อหนึ่งหรือบางทีไม่มีเลยสักข้อ เช่น 1. ไม่ได้อยู่ร่วมกันพร้อมหน้าพร้อมตา คือขาดอปริหานิยธรรมข้อ 1. และข้อ 2. เพราะหาก ครอบครัวใดทำอะไรไม่พร้อมเพรียงกัน มักจะเกิดการทะเลาะกันภายใน สมมุติว่าวันนี้แม่ทำกับข้าวอร่อย ถูกปาก ทุกคนต่างก็กินข้าวได้มากจนข้าวไม่พอ ถ้าบ้านนี้กินข้าวพร้อมหน้ากัน ข้าวอาจจะขาดไปสักครึ่ง เมื่อเฉลี่ยแล้วก็ขาดไปเพียงคนละ 2-3 ช้อนเท่านั้น ไม่กระทบกระเทือนเท่าไร แต่ถ้าบ้านนี้กิน ข้าวไม่พร้อมกันปัญหาเกิดแน่นอนคนที่มากินทีหลังจะได้กินไม่เต็มอิ่มขาดไปครึ่งชามก็เกิดความน้อยใจขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ขยันทำงานในบ้านมากที่สุดเท่าใดความน้อยใจยิ่งมากขึ้นตามลำดับเท่านั้นแล้วถ้าบ้าน ชาม ใดมีลูกช่างประจบแต่ขี้เกียจทำงานอยู่ด้วย คนพวกนี้จะมาคอยเคล้าเคลียรอเวลากินไม่ทันตั้งสำรับคนพวกนี้ จะหยิบเอาของดีๆ กินก่อนและก็กินจุจนอ้วนพี แม่ก็รักเพราะช่างพูดเอาใจ ลูกขยันๆ กว่าจะทำงานเสร็จก็เลยเวลากินข้าว ได้กินของเหลือๆ นิดเดียวทุกครั้ง แล้วบางที ยัง ต้องล้างจานทั้งหมดด้วย ถ้าเกิดเหตุการณ์อย่างนี้หลายครั้งเข้าความน้อยใจก็ยิ่งพอกพูน คราวนี้พอมีอะไร นิดหน่อยไปกระทบเข้า เช่น ทำแก้วส่วนตัวของเขาแตกไปใบเดียวจะโกรธพลุ่งขึ้นมาทันที ทะเลาะทุบตีกัน ไปเลย พ่อแม่ที่ไม่เข้าใจต้นเหตุที่แท้จริงก็อาจไกล่เกลี่ยประนีประนอมแก้กันที่ปลายเหตุ แต่ไม่หาย เพราะ ไม่พอใจกันอยู่ลึกๆ ต้นเหตุที่แท้จริงคือ เรื่องกินไม่พร้อมกันนี้เอง เป็นความไม่ยุติธรรมที่เกิดขึ้นบาดตาบาดใจกันอยู่ทุก เมื่อเชื่อวัน เพราะฉะนั้นถ้าบ้านไหนกินข้าวไม่พร้อมกัน บ้านนั้นกำลังจะแตก บทที่ 7 วั ฒ น ธ ร ร ม ก า ร อ ยู่ ร่ ว ม กั น DOU 155
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More