หลักการจัดเก็บสิ่งของเครื่องใช้ SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 47
หน้าที่ 47 / 169

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้นำเสนอหลักการจัดเก็บสิ่งของเครื่องใช้ที่ทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยแบ่งออกเป็นขั้นตอนต่างๆ เช่น สะสางเพื่อแยกของที่จำเป็น, สะดวกโดยการจัดให้หยิบใช้ได้ง่าย และสะอาดโดยการดูแลความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ยังมีแนวทางในการสร้างนิสัยการจัดเก็บ เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดและระเบียบอย่างต่อเนื่อง dmc.tv

หัวข้อประเด็น

- หลักการจัดเก็บสิ่งของ
- ขั้นตอนการจัดเก็บ
- ความสำคัญของระเบียบเรียบร้อย
- สุขลักษณะในการจัดเก็บ
- นิสัยการดูแลรักษาความสะอาด

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ดังนั้น ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสิ่งของส่วนตัว หรือส่วนรวมที่ถูกจัดพับเก็บอย่างดีนั้น จึงเป็นสิ่งเอื้ออำนวยอย่างยิ่ง ต่อการจะทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย และมีแบบแผนเดียวกัน โดยคำนึงถึงหลักในการจัดเก็บสิ่งของเครื่องใช้ว่ามีขั้นตอนอย่างไร ดังนี้ หลักการจัดเก็บสิ่งของเครื่องใช้ 1. สะสาง 2. สะดวก 3. สะอาด 4. สุขลักษณะ 5. สร้างนิสัย สะสาง สะอาด สร้างนิสัย สะดวก สุขลักษณะ วิธีปฏิบัติ หลักการ 1. สะสาง 2. สะดวก 3. สะอาด 1. ตั้งมาตรฐานว่าอะไรเป็นของจำเป็นและไม่จำเป็นที่ควรทิ้ง 2. แยกแยะสิ่งที่ไม่จำเป็นทิ้งไปเสีย 3. ตั้งจุดรับของที่ไม่ต้องการแต่ยังใช้ประโยชน์ได้ 4. หมั่นตรวจสอบอยู่เสมอ 1. แยกของที่ใช้เป็นประจำ และของที่นานๆ จึงจะใช้ประโยชน์ แล้วจัดของ ที่ใช้บ่อยอยู่ใกล้ หยิบใช้สะดวก 2. จัดสิ่งของเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกในการหยิบใช้และเก็บเข้าที่ 3. จัดวางให้เป็นระเบียบ วางในแนวฉาก ดูสวยงามไม่เกะกะตา 4. เมื่อนำของใดออกมาใช้ให้เก็บเข้าที่ทุกครั้ง 1. ทำความสะอาดทุกวันจนไม่มีโอกาสที่จะสกปรก 2. ทุกคนดูแลความสะอาดของส่วนตัวและแบ่งหน้าที่ทำความสะอาดของ ส่วนรวม 3. ไม่ทิ้งข้าวของหรือทำความสกปรกอะไร 4. ทำความสะอาดเครื่องมือ อุปกรณ์ สถานที่หลังเสร็จงานทุกครั้ง 38 DOU วั ฒ น ธ ร ร ม ช า ว พุ ท ธ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More