ข้อความต้นฉบับในหน้า
2) รับประทานอาหารเป็น
สำหรับผู้ที่รักษาศีล 8 จะรับประทานอาหารเพียง 2 มื้อ คือ มื้อเช้า และมื้อเพลเท่านั้น ดังนั้น
เพื่อให้ร่างกายได้รับอาหารอย่างเพียงพอ การรับประทานอาหารแต่ละมื้อจึงควรปฏิบัติดังนี้
มื้อเช้า รับประทานแค่ค่อนท้อง เพราะถ้าอิ่มมากเกินไปจะรับประทานมื้อเพลหรือกลางวันไม่ได้ หรือ
ถึงรับประทานได้ก็ได้น้อยเนื่องจากช่วงเวลาห่างกันไม่มาก จะทำให้หิวตอนบ่ายหรือตอนค่ำ
มื้อเพล รับประทานให้อิ่ม จากนั้นอีกประมาณ 10 นาที ดื่มน้ำตาม 1 แก้ว เพื่อช่วยย่อย
สำหรับผู้ที่มิได้รักษาศีล 8 การรับประทานอาหารมื้อเย็น ไม่ควรรับประทานอาหารหนักหรืออิ่ม
จนเกินไป เพราะร่างกายไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์มากนัก ควรรับประทานอาหารเบาๆ เช่น สลัดผลไม้ หรือ
น้ำผลไม้
กระเพาะลำไส้ไม่มีแรง
1. เพราะดื่มน้ำน้อย เวลาจะย่อยเลยต้องใช้แรงมาก
2. อีก 4-5 ค่ำ จะรับประทานอาหารอิ่มให้หยุด เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับการย่อย
กลั้นปัสสาวะนานๆ
ทําให้ตับร้อน ไตร้อน ทำลายระบบของร่างกาย
กลั้นอุจจาระนานๆ
ทำให้ของเหลวในอุจจาระดูดซึมกลับเข้าลำไส้แล้วเข้าสู่เส้นเลือด ทำให้เลือดเสีย กลิ่นตัวแรง
เป็นโรคผิวหนัง อุจจาระแข็งเพราะน้ำถูกดูดซึมกลับเข้าสู่เส้นเลือด ยิ่งขับถ่ายลำบากอาจเป็นเหตุทำให้
เป็นริดสีดวงทวารได้
รับประทานไม่เป็น ปัสสาวะไม่เป็น อุจจาระไม่เป็น ออกกำลังกายไม่เป็น เป็นสาเหตุให้ต้องพบ
แพทย์บ่อยๆ ทำให้สูญเสียความมั่นใจ บั่นทอนจิตใจ กลายเป็นคนวิตกกังวลในที่สุด ฉะนั้นรักที่จะมี
สุขภาพดี อารมณ์แจ่มใส ทำงานได้เต็มที่ หรือปฏิบัติธรรมให้ดี ต้องรักษาสุขภาพให้เป็น ให้ดีด้วย
อาหารเช้า
4.2.4 หลักการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง 8 ประการ
1. การรับประทานอาหาร
เป็นมื้อที่สำคัญมาก เพราะช่วงเช้าร่างกายขาดน้ำตาล ถ้าไม่ทานอาหารเช้าจะเกิดภาวะขาดน้ำตาล
ซึ่งจะมีผลทำให้ความคิดซื้อตันไม่ปลอดโปร่ง วิตกกังวล ใจสั่น อ่อนเพลีย หงุดหงิด โมโหได้ง่าย มื้อเช้า
รับประทานได้เช้าที่สุดยิ่งดี (ระหว่างเวลา 6.00-7.00 น.) เพราะท้องว่างมานาน หากยังไม่มีอาหารให้ดื่ม
64 DOU วั ฒ น ธ ร ร ม ช า ว พุ ท ธ