การปฏิบัติตนในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 106
หน้าที่ 106 / 169

สรุปเนื้อหา

การเดินในสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก ควรรักษาทิศทางให้ตรง ไม่ควรแซง เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งเหยิง การยืนต้องรักษาทิศทางศีรษะให้ตรงกัน และในพิธีกรรม ควรรักษาความเงียบสงบและสติระหว่างประกอบพิธี หากเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ ควรฟังคำสั่งจากประธานเพื่อหลีกเลี่ยงความวุ่นวายและอุบัติเหตุ การนั่งควรปฏิบัติตามแบบที่สุภาพทั้งในเก้าอี้และพื้น

หัวข้อประเด็น

-การเดินในหมู่คน
-การยืนในพิธีกรรม
-การนั่งอย่างถูกต้อง
-การรักษาระเบียบวินัย
-การนั่งพับเพียบ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การเดินในหมู่คนมากๆ ควรรักษาแนวให้ตรงกับคนหน้าไม่ควรแซงขึ้นหน้า ทำให้ขาดระเบียบวินัย การยืนกันมากๆ ควรยืนให้ตรงคนหน้า ให้ถือแนวศีรษะให้ตรงกัน ในพิธีกรรม ขณะประกอบพิธีควรรักษาความเงียบสงบ ในระหว่างประกอบพิธีกรรมอยู่หากเกิด ความผิดปกติในเรื่องดินฟ้าอากาศก็ดี หรือสิ่งอันไม่คาดคิดก็ดี ควรรักษาความเป็นระเบียบวินัยไว้ก่อน คอยฟังคำสั่งของประธานในพิธีว่าจะให้ปฏิบัติอย่างไรบ้างควบคุมสติให้ดีไม่ควรตื่นตระหนกและชุลมุนวุ่นวาย เพราะจะทำให้ขาดระเบียบวินัย และอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ เนื่องจากการกระทำของหมู่ชนที่ขาด สติสัมปชัญญะ เช่น มีการผลักดันกันบ้าง เกิดโกลาหล ทำให้กระทบกระทั่งกันได้ เป็นต้น 3. การนั่ง 1. นั่งเก้าอี้ ให้นั่งตัวตรง หลังพิงพนักเก้าอี้ เท้าชิด เข่าชิด มือวางบนหน้าขา ถ้าเป็นเก้าอี้มี เท้าแขน เมื่อนั่งตามลำพังจะเอาแขนพาดที่เท้าแขนก็ได้ไม่ควรนั่งโดยเอาปลายเท้าหรือขาไขว้กันอย่างไขว่ห้าง ควรนั่งเต็มเก้าอี้ อย่านั่งโดยโยกเก้าอี้ให้โยกหน้าหรือเอนหลัง ถ้าเป็นหญิงต้องระมัดระวังเครื่องแต่งกาย อย่าให้ประเจิดประเจ้อ 2. นั่งกับพื้น นิยมนั่งพับเพียบ การนั่งพับเพียบหมายถึงการนั่งตัวตรง พับขาทั้งสองข้างไป ทางขวา หรือทางซ้ายก็ได้ตามถนัด ในหมู่ชาวพุทธ ถือว่าเป็นท่านั่งที่สุภาพเรียบร้อยมากที่สุด ควรทำใน กรณีที่ต้องนั่งกับพื้นต่อหน้าพระพุทธรูป พระภิกษุสงฆ์ หรือขณะที่นั่งฟังเทศน์ เป็นต้น 3. นั่งตามลำพัง ให้นั่งพับเพียบในลักษณะสุภาพ ยืดตัว ไม่ต้องเก็บปลายเท้า แต่อย่าเหยียดเท้า มือวางไว้บนตักก็ได้ ผู้หญิงจะนั่งเท้าแขนก็ได้ การเท้าแขนอย่าเอาท้องแขนไว้ข้างหน้า ผู้ชายไม่ควรนั่ง เท้าแขน นั่งปล่อยแขนได้ ท ที่ บ า ที่ 5 ม า ร ย า ก ช า ว พุ ท ธ DOU 97
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More