วิธีทำความสะอาดและชักตากผ้า SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 53
หน้าที่ 53 / 169

สรุปเนื้อหา

ในขั้นตอนการทำความสะอาด เช่น การเช็ดโต๊ะ การทำความสะอาดใต้โต๊ะ และการชักตากผ้า โดยการใช้ผ้าที่ชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดโต๊ะให้สะอาด และทำความสะอาดด้วยแปรงสีฟันตามซอกใต้โต๊ะ การรักษาความสะอาดยังทำให้มีอานิสงส์หลายประการ เช่น ส่งเสริมให้มีนิสัยรักความสะอาด มีจิตใจเบิกบาน และเป็นที่รักของผู้คน รักษาอุปกรณ์การทำความสะอาดให้พร้อม สรุปแล้วจะทำให้การทำความสะอาดนั้นมีประสิทธิภาพและนำไปสู่จิตที่สงบและเข้าถึงธรรมได้ง่ายขึ้น โดยการตระเตรียมอุปกรณ์เช่น กะละมัง น้ำยาซักผ้า แปรงซักผ้า และอุปกรณ์อื่น ๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินการทำความสะอาดอย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อประเด็น

-ขั้นตอนการทำความสะอาด
-อานิสงส์ของการทำความสะอาด
-การชักตากผ้า
-อุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำความสะอาด

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3. นำผ้าชุบน้ำบีบหมาดๆ เช็ด แล้วเช็ดด้วยผ้าแห้งอีกครั้ง 4. ถูบนโต๊ะไปในทิศทางเดียวกัน โดยให้น้ำหนักในการเช็ดสม่ำเสมอ 5. ในกรณีที่ต้องทำพื้นล่าง (ใต้โต๊ะ) ควรพลิกโต๊ะหงายขึ้น ใช้แปรงสีฟันปัดฝุ่นตามซอกและพื้น ใต้โต๊ะให้สะอาด แล้วพลิกกลับตามเดิม เช็ดบนโต๊ะให้สะอาดอีกครั้งด้วยผ้าแห้ง (ควรมี ผ้าพลาสติกหรือเสื่อรองผิวโต๊ะด้วยขณะหงาย) 6. นำผ้าไปซักให้สะอาดและเก็บล้างอุปกรณ์ทุกอย่างให้เรียบร้อย อานิสงส์ของการทำความสะอาด 1. เกิดอุปนิสัยรักความสะอาด ส่งผลให้อยากรักษากาย วาจา ใจให้สะอาดด้วย 2. ผิวพรรณและจิตใจเบิกบานผ่องใส เป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธา เพราะใจเกาะเกี่ยวอยู่กับ ความใสความสะอาด ทำให้เป็นคนละเอียดรอบคอบ ประณีต ช่างสังเกต รู้จักวางแผนงาน อย่างเป็นขั้นเป็นตอน 3. เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย 4. นึกนิมิตดวงแก้ว องค์พระได้ง่ายขณะทำสมาธิ ยังผลให้ใจอยู่ที่ศูนย์กลางกายเข้าถึงธรรมได้ง่าย 3.2.3 การชักตาก 1. การเตรียมการ 1.1 เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม 1 ) กะละมัง 2) น้ำยาซักผ้า 3 ) แปรงซักผ้า 4 ) โต๊ะ / ม้านั่ง 5 ) ไม้แขวนเสื้อ 6 ) ไม้หนีบผ้า 7 ) ถังน้ำ / ตะกร้า 44 DOU วั ฒ น ธ ร ร ม ช า ว พุ ท ธ won
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More