การถวายทานและการอุทิศส่วนบุญในพระพุทธศาสนา SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 133
หน้าที่ 133 / 169

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการถวายทานและการอุทิศส่วนบุญที่พระเจ้าพิมพิสารได้ทำเพื่อญาติที่ล่วงลับไปแล้ว พร้อมกับการสืบทอดประเพณีการกรวดน้ำที่สำคัญในพระพุทธศาสนา ซึ่งช่วยให้ผู้ตายได้รับความอิ่มหนำสำราญและไปเกิดตามกรรมของตน โดยมีการอธิบายวิธีการกรวดน้ำที่ถูกต้องและการเตรียมการก่อนทำ รวมถึงความสำคัญและประโยชน์ของการกรวดน้ำในศาสนาพุทธเป็นเวลามากกว่า 2,000 ปี

หัวข้อประเด็น

-ประวัติความเป็นมาของการกรวดน้ำ
-วิธีการกรวดน้ำ
-ความสำคัญของการอุทิศส่วนบุญ
-บทบาทของพระเจ้าพิมพิสารในเรื่องนี้
-การปฏิบัติในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ต่อมาเมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงอุบัติขึ้นในโลกแล้วความหวังของเปรตเหล่านั้นก็เรืองรองขึ้นมาบ้าง แต่พระเจ้าพิมพิสารครั้นทรงบำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก เช่น ทรงถวายอุทยานสวนไผ่ ให้เป็นพระอารามที่ประทับของพระพุทธองค์พร้อมพระภิกษุสงฆ์สาวกทั้งหลายเป็นแห่งแรกชื่อว่าวัดเวฬุวัน และได้ถวายปัจจัย 4 เสมอมา พระองค์ก็ไม่เคยได้อุทิศส่วนบุญนั้นๆ ให้กับผู้ใดเลย พวกเปรตที่เป็นญาติ ของพระองค์เหล่านั้นผู้รอคอยส่วนบุญอยู่จึงผิดหวังทุกครั้ง มาคืนหนึ่งจึงได้แสดงตัวส่งเสียงร้องครวญคราง และให้พระเจ้าพิมพิสารเห็นรูปร่างของตน พระเจ้าพิมพิสารทรงสะดุ้งตกพระทัยเป็นอันมาก พอรุ่งเช้าจึงรีบไปทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงเล่าเรื่องอดีตชาติให้ทรงทราบ พระเจ้าพิมพิสารทูลถามว่าถ้าพระองค์ถวายทานแล้วอุทิศในตอนนี้ พวกญาติเหล่านั้นจะได้รับส่วนบุญหรือไม่ เมื่อพระพุทธองค์ตรัสว่าได้รับ พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงเตรียมการถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์มี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข ครั้นพระภิกษุสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงหลั่งทักษิโณทก อุทิศส่วนกุศลว่า “อิท เม ญาตีนํ โหตุ (อ่านว่า อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ) ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้ง หลายของข้าพเจ้าด้วยเถิด” ทันใดนั้น เปรตผู้เป็นญาติทั้งหลายเหล่านั้นต่างก็อิ่มหนำสำราญด้วยอาหารทิพย์ วันต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายไตรจีวร เสนาสนะ และเภสัช เป็นต้น แด่พระภิกษุสงฆ์อีก แล้วทรง กรวดน้ำอุทิศไปให้เปรตเหล่านั้นทุกครั้ง เปรตเหล่านั้นก็ได้รับส่วนบุญเหล่านั้นทุกครั้ง และไปเกิด ตามกรรมของตน ไม่มารบกวนพระเจ้าพิมพิสารอีกเลย ฉะนั้น การกรวดน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานกว่าสองพันปี และยังเป็นสิ่งที่ ควรกระทำทุกครั้งหลังบำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา เพื่ออุทิศส่วนบุญให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ไม่ว่าจะ เป็นบรรพบุรุษบุพการี ญาติสนิทมิตรสหาย หรือลูกหลานก็ตาม นักศึกษาจึงควรศึกษาขั้นตอนวิธีปฏิบัติใน การกรวดน้ำ และปฏิบัติให้เป็นนิสัยติดตัวของเราไป หน้า 518 วิธีปฏิบัติในการกรวดน้ำ 1 1) น้ำที่ใช้กรวดนั้น นิยมใช้น้ำที่สะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งอื่นเจือปน เช่น น้ำประปา น้ำฝน น้ำบ่อ เป็นต้น 2) ภาชนะที่ใช้กรวดน้ำ ต้องเตรียมล่วงหน้าไว้ให้พร้อม ใส่น้ำให้เต็ม และมีที่รอง หากไม่มี ภาชนะสำหรับกรวดน้ำโดยเฉพาะ จะใช้ขันหรือแก้วน้ำแทนก็ได้ ในกรณีนี้ ควรหาจาน หรือ ถาดไว้รองกันน้ำหกด้วย มหาขันธกะ, พระวินัยปิฎก มหาวรรค, มก. เล่ม 6 ข้อ 63 หน้า 117 2 ทักษิโณทก น. น้ำที่หลั่งในเวลาทำทานเพื่ออุทิศให้แก่ผู้ตาย (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542) * ติโรกุฑฑเปตวัตถุ, ขุททกนิกาย เปตวัตถุ, มก. เล่ม 49 ข้อ 90 หน้า 37-48 124 DOU วั ฒ น ธ ร ร ม ช า ว พุ ท ธ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More