ข้อความต้นฉบับในหน้า
กลมกลืนกับวิถีชีวิตของตนเอง เล่าขานสืบต่อกันมาสู่ลูกหลานรุ่นแล้วรุ่นเล่าจวบจนถึงยุคปัจจุบัน จึงถือได้
ว่าเป็นวัฒนธรรมที่เก่าแก่ยาวนานหลายพันปี สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป
พระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติขึ้นมานั้นเป็นบทป้องกัน และขัดเกลากิเลสจากขันธสันดาน
เป็นเสมือนเส้นด้ายที่ใช้ร้อยดอกไม้ให้เป็นมาลัย โดยรวมดอกไม้หลากสีหลากพันธุ์เข้าเป็นหนึ่งเดียว
เหนียวแน่นมั่นคง แม้จะมีกระแสลมพัดมาก็มิอาจทำให้ดอกไม้ที่ร้อยเรียงไว้ดีแล้วนั้นกระจัดกระจายได้
ระเบียบจนหมดคุณค่าไปได้ เปรียบเหมือนผู้คนที่มาจากทั่วสารทิศ เมื่อมาอยู่รวมกันจะมีความพร้อม
เพรียงเป็นระเบียบเรียบร้อยงดงามได้นั้น ต้องอาศัยวินัยหรือแบบแผนการปฏิบัติที่เหมือนๆ กัน
1.3 ความสำคัญ
มีปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวไว้ว่า “การปลูกฝังคุณธรรมต่างๆ เช่น ความเคารพ ความ
กตัญญู เป็นต้น ให้มั่นคงได้นั้น ต้องฝึกวัฒนธรรมชาวพุทธด้วย ถ้าไม่มีวัฒนธรรมรองรับจะเปรียบเสมือน
ต้นไม้ที่มีแก่นแข็งแกร่ง แต่ไม่มีเปลือกหรือกระพี้ห่อหุ้ม จึงไม่สามารถดูดน้ำเลี้ยงขึ้นมาเลี้ยงต้นต่อไปได้ ใน
ที่สุดก็ตาย” ดังนั้นการเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมชาวพุทธนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่ชาวพุทธต้องศึกษาให้
เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
แต่เดิมมาคนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา และวิถีชีวิตส่วนใหญ่จะข้องเกี่ยวอยู่กับพระพุทธ
ศาสนา ดังนั้นคนไทยในอดีตส่วนใหญ่จึงได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงามจากพระพุทธศาสนา
มาอย่างไม่รู้ตัวจนก่อเกิดเป็นนิสัยติดตัวมา เช่น ความเคารพต่อพระสงฆ์ ต่อผู้ใหญ่ การกราบ การไหว้
เป็นต้น ล้วนเป็นนิสัยที่ได้รับการขัดเกลามาจากพระพุทธศาสนาเมื่อเป็นเช่นนี้คนไทยในอดีตจึงรักในการ
ศึกษาธรรมะและนำมาปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวันจนเกิดเป็นนิสัยติดตัวมา ทำให้คนไทยในอดีตอยู่ร่วมกัน
อย่างสันติสุข แต่เมื่อมองในปัจจุบัน คนไทยรุ่นหลังไม่ค่อยได้รับการปลูกฝังวัฒนธรรมเหล่านี้ จึงเป็น
สาเหตุให้คนไทยรุ่นหลังขาดคุณธรรม ด้วยเหตุนี้การสอนหรือการอบรมธรรมะจึงเริ่มยากขึ้นเป็นเงาตามตัว
เมื่อการศึกษาธรรมะยากขึ้น คุณธรรมหรือนิสัยดีๆ จึงเกิดขึ้นยาก ดังนั้น การศึกษาวิชาวัฒนธรรม
ชาวพุทธจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ และศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ โดยนักศึกษาจะได้รับ
ประโยชน์ 2 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนแรก เป็นการตอกย้ำความเข้าใจสำหรับผู้ที่ได้ศึกษามาแล้ว เป็นความรู้
ใหม่สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ศึกษา ส่วนที่สองเป็นประโยชน์อันจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ตามมาในภายหลัง เมื่อนักศึกษา
เข้าใจและปฏิบัติตามจนเกิดเป็นนิสัยที่ดีติดตัวแล้ว จะได้นำสิ่งเหล่านั้นถ่ายทอดไปยังชนรุ่นหลัง อาจจะ
เป็นลูกหลานหรือหากใครเป็นครูอาจารย์ก็สามารถนำความรู้เหล่านี้ไปสั่งสอนให้ลูกศิษย์ในความดูแลปฏิบัติได้
เมื่อเป็นเช่นนี้จะได้ทำหน้าที่เป็นยอดกัลยาณมิตรตามหน้าที่หลักที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง
ให้ไว้
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเรื่ อ ง วั ฒ น ธ ร ร ม ช า ว พุ ท ธ
เรื่อ
DOU 9