ข้อความต้นฉบับในหน้า
ส่วนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ได้ให้ความหมายไว้ว่า “วัฒนธรรม” (น.) หมายถึง
สิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามแก่หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งกาย วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น
วัฒนธรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมชาวเขา
นอกจากนี้ ได้มีนักวิชาการให้ความหมายไว้หลายประการ เช่น ในหนังสือมนุษย์กับวัฒนธรรม
นักมานุษยวิทยาได้สรุปลักษณะพื้นฐานที่สำคัญของวัฒนธรรมไว้ 6 ประการ แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเพียง
2 ประการ คือ
1. วัฒนธรรมเป็นความคิดร่วม (shared ideas) และค่านิยมทางสังคมซึ่งเป็นตัวกำหนด
มาตรฐานของพฤติกรรมคนในวัฒนธรรมเดียวกันจะสามารถคาดคะเนพฤติกรรมของผู้อื่นในสถานการณ์ต่างๆ
ได้ ซึ่งทำให้พฤติกรรมของเขามีความสอดคล้องต้องกันกับผู้อื่น เช่น ค่านิยมอย่างหนึ่งในสังคมไทยคือ
การเคารพนับถือผู้ใหญ่ เมื่อเด็กพบผู้ใหญ่ที่ตนรู้จัก เด็กทราบดีว่าตนควรยกมือไหว้เพื่อทักทาย และแสดง
ความเคารพ ขณะเดียวกันผู้ใหญ่ก็สามารถคาดคะเนได้ว่า เด็กจะไหว้ตนและตนควรจะรับไหว้
2. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์เรียนรู้ (Culture is learned) ทีละเล็กทีละน้อยจากการเกิดและเติบโต
มาในสังคมแห่งหนึ่ง วัฒนธรรมเปรียบเสมือน “มรดกทางสังคม” ได้รับการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คน
อีกรุ่นหนึ่งโดยผ่านกระบวนการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมหรือกระบวนการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม
(enculturation) ซึ่งรวมถึงการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ ครูอาจารย์ และประสบการณ์ต่างๆ ที่มนุษย์ได้
รับการสั่งสมมาจากการเป็นสมาชิกสังคม จากกระบวนการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมนี้ มนุษย์สามารถเข้าใจ
ได้ว่าตนควรมีพฤติกรรมเช่นไรในสถานการณ์ต่างๆ พฤติกรรมเช่นไรที่คนยอมรับว่าดีงามและถูกต้อง
มนุษย์จะรับเอาทัศนคติ ค่านิยมและความเชื่อที่สังคมยอมรับมาเป็นของตน
“วัฒนธรรม” เป็นศัพท์ทางวิชาการ (Technical Vocabulary) ซึ่งในทรรศนะของสังคมวิทยา
หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต กระสวนแห่งพฤติกรรม และบรรดาผลงาน ทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น
ตลอดจนความคิด ความเชื่อ และความรู้ เป็นต้น
โดยสรุป “วัฒนธรรม” หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคม นับตั้งแต่วิธีกิน วิธีอยู่
วิธีแต่งกาย วิธีทำงาน วิธีแสดงอารมณ์ วิธีพักผ่อน วิธีสื่อความ วิธีจราจรและขนส่ง วิธีอยู่ร่วมกันเป็นหมู่
คณะ วิธีแสดงความสุขทางใจ และหลักเกณฑ์การดำเนินชีวิต โดยแนวทางการแสดงออกถึงวิถีชีวิตนั้น
อาจเริ่มมาจากเอกชนหรือบุคคลทำเป็นต้นแบบ แล้วต่อมาคนส่วนใหญ่ก็ปฏิบัติสืบต่อกันมา
2
1 พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, (กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2546), หน้า 1058
ยศ สันตสมบัติ ศจ.ดร., มนุษย์กับวัฒนธรรม (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2540), หน้า 11
*ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.thaiwisdom.org/p_culture/api/api_1htm
6 DOU วั ฒ น ธ ร ร ม ช า ว พุ ท ธ