ข้อความต้นฉบับในหน้า
คำว่ากฐิน
ผ้ากฐิน
การทอดกฐิน
พิธีทอดกฐิน
คือ กรอบไม้สําหรับขึงผ้าให้ตึง เพื่อสะดวกแก่การเย็บผ้า ซึ่งเรียกว่า สะดึง
คือ ผ้าสำเร็จรูปโดยอาศัยไม้สะดึงขึงผ้าแล้วช่วยกันเย็บ เมื่อสำเร็จเป็นรูปแล้ว
ก็ปลดออกจากสะดึง
คือ การทอดผ้าซึ่งเย็บจากไม้สะดึง (แม้ปัจจุบันไม่ได้ใช้สะดึงแล้วก็ยังเรียก
เหมือนเดิม จึงเป็นความหมายสำหรับพิธีประจำปี) ระยะเวลาในการอนุญาต
ให้ทอดกฐินได้ ตามพระวินัยบัญญัติ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง ขึ้น
15 ค่ำ เดือน 12 รวมเป็นเวลา 1 เดือน
พิธีมาฆบูชา
ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต” แปลว่า การประชุมที่ประกอบ
ด้วยองค์ 4 คือ
1. วันนั้นเป็นวันเพ็ญเต็มดวงเสวยมาฆฤกษ์
2. พระภิกษุสงฆ์1,250 รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
3. พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญาทั้งสิ้น
4. พระอรหันต์เหล่านั้นเป็นผู้ได้รับการอุปสมบทแบบเอหิภิกขุ คือ ได้รับการบวชจากพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าโดยตรงทั้งสิ้น
และวันเพ็ญมาฆะนี้ เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร (ตกลงพระทัยเพื่อจะ
ปรินิพพาน) ในพรรษาสุดท้ายของพระพุทธองค์
พุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญตักบาตร ไปวัดฟังพระธรรมเทศนา ส่วนทางวัดก็มีการจัดประทีป ธูป
เทียน เป็นเครื่องบูชา บางวัดก็เทศน์ตลอดรุ่ง บางวัดก็จุดมาฆประทีปบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างยิ่งใหญ่
และเมื่อถึงเวลาประกอบพิธี พระภิกษุสงฆ์และสามเณรตลอดทั้งพุทธศาสนิกชนต่างเตรียมดอกไม้ ธูป เทียน
ไปประชุมพร้อมกันในพระอุโบสถ พุทธศาสนิกชนยืนเบื้องหลังพระภิกษุสงฆ์สามเณร จุดเทียนธูป ประนมมือ
กล่าวคำบูชาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และกล่าวถึงกาลกำหนดวันมาฆบูชา ซึ่งพระพุทธองค์
ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์ ฯลฯ ต่อจากนั้นก็เดินเวียนเทียนรอบพระสถูปหรือพระเจดีย์ 3
รอบ เดินด้วยอาการสงบสำรวม ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ด้วยการสวดบท
“อิติปิโส ภะคะวา” จากนั้นพุทธศาสนิกชนก็จะมาประชุมพร้อมกันในพระอุโบสถ หรือศาลาเพื่อฟังธรรม
ซึ่งบางวัดอาจจะมีการทำวัตรสวดมนต์ หรือนั่งสมาธิ
กฐินขันธกะ, พระวินัย มหาวรรค, มก. เล่ม 7 หน้า 193
* อรรถกถาทีฒนชสูตร, มัชฌิมปัณณาสก์, มก. เล่ม 20 หน้า 485
บ ท ที่ 6 ศ า ส น พิ ธี DOU 133