ประวัติด้ายสายสิญจน์ในพิธีกรรมมงคล SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 126
หน้าที่ 126 / 169

สรุปเนื้อหา

ด้ายสายสิญจน์เป็นอุปกรณ์สำคัญในงานมงคล มีประวัติยาวนานจากชาดก ซึ่งพระโพธิสัตว์ได้ใช้ในขณะเดินทางไปเมืองตักสิลา เพื่อป้องกันอันตรายจากนางยักษิณี โดยอาศัยอานุภาพของด้ายนี้เป็นเครื่องป้องกัน เป็นสัญลักษณ์ของความศักดิ์สิทธิ์ในการกระทำดีและพิธีกรรมต่างๆ ในทุกวันนี้ รูปแบบการใช้ด้ายสายสิญจน์มีความเป็นมาจากพระไตรปิฎก ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าเป็นเครื่องหมายป้องกันในพิธีกรรมมงคลที่รู้จักกันมาช้านาน เช่น การผูกข้อมือและสวมศีรษะในงานต่างๆ

หัวข้อประเด็น

-ประวัติด้ายสายสิญจน์
-พิธีกรรมมงคล
-ความสำคัญของด้ายสายสิญจน์
-ความเชื่อในประเพณี
-พระโพธิสัตว์และชาดก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ในงานมงคลที่กล่าวถึงข้างต้นหรืองานอวมงคลที่จะได้กล่าวถึงในหัวข้อต่อไปนั้นจะมีอุปกรณ์ อยู่ชิ้นหนึ่งที่ใช้บ่อย และมีความสำคัญกับการประกอบพิธีกรรมอย่างมาก นั่นคือ “ด้ายสายสิญจน์” ซึ่งนัก ศึกษาส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ทราบถึงความเป็นมาของด้ายสายสิญจน์นี้ เพื่อเป็นความรู้ประดับสติปัญญา ของเราเอง และเพื่อเป็นข้อมูลในการอธิบายให้คนอื่นได้ทราบถึงความเป็นมา จะได้นำประวัติของ ด้ายสายสิญจน์ที่ปรากฏอยู่ในประไตรปิฎกมากล่าวถึงในบทนี้ ดังนี้ ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นพระราชโอรสองค์สุดท้องของพระเจ้าพรหมทัตแห่งเมือง พาราณสี ทรงศรัทธาบำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นประจำ วันหนึ่งได้ทูลถามพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า ต่อภายหน้าพระองค์จะได้เสวยราชสมบัติในเมืองพาราณสีหรือไม่พระปัจเจกพุทธเจ้าพิจารณาดูแล้วก็ทราบว่า จะไม่ได้เป็นกษัตริย์ในเมืองนี้ แต่จะได้ครองเมืองตักสิลา ทว่าการไปตักสิลานั้นมีอันตรายจากนางยักษิณี ระหว่างทาง จึงถวายพระพรเรื่องนี้ให้ทรงทราบพร้อมกำชับว่าให้ระวังตัวในเรื่องรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่นางยักษิณีจะปลอมแปลงมาหลอกลวง ถ้าหลงใหลจะเป็นอันตรายถึงชีวิต พระโพธิสัตว์ก็รับคำเป็นอันดี แล้วได้อาราธนาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายสวดพระปริตร แล้วรับเอาปริตตวาลิกะ (ทรายเสกด้วยพระปริตร) และปริตตสุตตะ (ด้ายเสก-สายสิญจน์) ที่พระปัจเจกพุทธเจ้ามอบให้ ทูลลาพระราชบิดาออกเดินทางไป เมืองตักสิลาพร้อมด้วยคนสนิทอีก 5 คน ซึ่งขอติดตามไปด้วยโดยมีฟังคำทัดทาน หลังจากกำชับกำชา ให้ระวังตัวให้ดีเหมือนคำพระปัจเจกพุทธเจ้า และทุกคนรับคำเป็นอันดีแล้วก็เดินทางไปตามลำดับ ครั้นถึงกลางดงใหญ่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของนางยักษิณีนางยักษิณีเห็นบุรุษเหล่านั้นพักอยู่จึงจำแลงเพศ มาเป็นหญิงสาวรุ่นงดงาม น่าพึงใจด้วย รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส พวกคนสนิทของพระโพธิสัตว์เห็น เข้าก็เกิดความลุ่มหลง ลืมสัญญาเสียสิ้น คนที่ชอบรูปร่าง ก็ถูกนางยักษิณีลวงด้วยรูปสวย แล้วจับกินเสีย คนที่ชอบเสียงก็ลวงด้วยเสียง แล้วถูกจับกิน คนทั้งห้าถูกลวงด้วยกามคุณห้าอย่างนี้แล้วถูกกินจนหมด เหลือพระโพธิสัตว์เพียงคนเดียวเท่านั้น แม้ยักษิณีจะลวงด้วยอาการอย่างไรก็ไม่ประมาท ไม่ยอมติดใจยินดี ด้วยอำนาจบุญบารมีที่เคยสั่งสมอบรมมา นางยักษิณีก็ทำอะไรไม่ได้ ได้แต่ติดตามไปห่างๆ จะเข้าก็ไม่ได้ เพราะอานุภาพแห่งทรายเสก และด้ายเสกที่ติดตัวพระโพธิสัตว์อยู่ พอถึงเมืองตักสิลา พระโพธิสัตว์ก็เข้าพัก ณ ศาลาแห่งหนึ่ง เอาทรายเสกโรยบนศีรษะ แล้วเอา ด้ายเสกวนรอบที่พัก นางยักษิณีก็เข้าศาลาไม่ได้จึงพักอยู่ข้างนอกจนกระทั่งรุ่งเช้า พระราชาเมืองตักสิลา เสด็จผ่านมาเห็นนางเข้าจึงเกิดความเสน่หา นำนางเข้าไปเป็นสนมในวัง ภายหลังถูกนางยักษิณีหลอก จับกินเสียอีก เมื่อขาดพระราชาประชาชนจึงพร้อมใจกันเลือกพระราชาองค์ใหม่ เห็นพระโพธิสัตว์มีรูปร่าง งดงาม มีสง่าน่าเลื่อมใส จึงอัญเชิญให้เป็นพระราชาเมืองนั้นสืบต่อไป ด้วยเหตุนี้ ด้ายสายสิญจน์จึงนิยมใช้วงสถานที่อยู่ และสถานที่ทำพิธี ตลอดจนใช้สวมศีรษะ สวม คอ ผูกข้อมือในงานมงคลทั้งปวง โดยนับถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ประดุจข่าย หรือเกราะเพชรป้องกัน สรรพอันตราย เป็นประเพณีสืบมาจนทุกวันนี้ 1 ชาดกฏฐกถา, อรรถกถาชาดก เอกนิบาต, มก. เล่ม 56 หน้า 353 บ ท ที่ 6 ศ า ส น พิ ธี DOU 117
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More