มารยาทและเคารพในสังคมไทย SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 87
หน้าที่ 87 / 169

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความหมายของมารยาทในภาษาอังกฤษและความสำคัญของการแสดงความเคารพในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคารพพระรัตนตรัย ซึ่งเป็นแบบแผนและสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยที่มีมาแต่โบราณ มารยาทที่ดีไม่เพียงแสดงออกถึงการอบรมที่ดี แต่ยังทำให้เกิดความเคารพในพระรัตนตรัยและการปฏิสันถารที่เหมาะสมในสังคมด้วย มารยาทยังเป็นสิ่งที่สำคัญในการรักษาความสงบสุขทั้งแก่ตนเองและส่วนรวม พร้อมแนะนำถึงสายสัมพันธ์ที่มีความหมายและคุณค่าที่เราควรยึดถือในการแสดงออกซึ่งมารยาทในชีวิตประจำวัน

หัวข้อประเด็น

- มารยาทในภาษาอังกฤษ
- ความสำคัญของมารยาทในสังคมไทย
- การแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย
- ประเพณีและวัฒนธรรมไทย
- หลักคำสอนในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คำภาษาอังกฤษ - propriety of conduct แปลว่า ระเบียบ แบบแผนของการปฏิบัติ - a boundary แปลว่า เขตแดน - a limit แปลว่า ข้อจํากัด ดังนั้น ความหมายของคำว่ามารยาทหรือมรรยาทในภาษาอังกฤษจึงหมายถึงระเบียบแบบแผน หรือขอบเขตหรือข้อจำกัดที่บุคคลพึงปฏิบัติ (เพื่อก่อให้เกิดความสงบสุขทั้งแก่ตนเองและส่วนรวม) ส่วนพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 แปลคำมารยาทหรือมรรยาทไว้ว่ากิริยาวาจา ที่ถือว่าเรียบร้อย ถูกกาลเทศะ ได้ง่าย มารยาทนั้นมุ่งที่การปฏิบัติทางกายและวาจาเป็นสำคัญ เพราะสองสิ่งนี้มองเห็นได้ง่าย สัมผัส มารยาทและการวางตัวที่เหมาะสม จึงเป็นปราการด่านแรกที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ผ่าน การอบรมฝึกฝนตนมาดี มีคุณสมบัติของผู้ที่มีวัฒนธรรมอันเจริญ สามารถยังจิตของผู้พบเห็นให้ยินดีเลื่อม ใส นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงถึงความเป็นผู้มีความเคารพอ่อนน้อม ส่งผลให้เกิดความเคารพในพระรัตนตรัย และเคารพในการปฏิสันถาร ในที่นี้จะกล่าวถึง มารยาทในสังคมไทยที่ใช้ในปัจจุบันอย่างที่คนทั่วไปมักต้องพบกับสถานการณ์ ที่ต้องแสดงออกซึ่งมารยาทเหล่านี้ ได้แก่ 5.2 การแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย การแสดงความเคารพเป็นระเบียบประเพณีและวัฒนธรรมของชนชาติไทยที่บรรพบุรุษของเราได้ ยึดถือประพฤติปฏิบัติตลอดมาเป็นลำดับจนเป็นแบบแผน หรือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ ถ้าใครรู้จักแสดง ความเคารพ เราก็เรียกผู้นั้นว่าเป็นคนไทยที่เคารพในประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงาม มีมารยาทงาม น่ารัก น่าเคารพ น่านับถือ และน่าคบหาสมาคม ดังนั้น บรรพบุรุษของเราจึงได้อบรมบุตรหลานของตนให้รู้จักแสดงความเคารพซึ่งกันและกัน โดยยึดถือหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในมงคลสูตรว่า “คารโว จ นิวาโต จ เอตมมงคลมุตฺตม์ แปลว่า ความเคารพและความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นมงคลอันสูงสุด” สมทรง ปุญญฤทธิ์, มารยาทชาวพุทธ, (กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, 2529), หน้า 9 78 DOU วั ฒ น ธ ร ร ม ช า ว พุ ท ธ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More