การจัดโต๊ะหมู่บูชา SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 136
หน้าที่ 136 / 169

สรุปเนื้อหา

การจัดโต๊ะหมู่บูชาเป็นส่วนสำคัญในพิธีทางพระพุทธศาสนา ที่แสดงถึงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชาติไทย โดยโต๊ะหมู่บูชามีหลากหลายรูปแบบและประเภท เช่น หมู่ 5 หมู่ 7 หมู่ 9 ซึ่งถูกจัดเพื่อแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัยในพิธีการต่างๆ อาทิเช่น การทำบุญและพิธีถวายพระพร การจัดเครื่องบูชาบนโต๊ะต้องใส่ใจกฎเกณฑ์ที่ว่าต้องไม่สูงกว่าพระพุทธรูปที่ประดิษฐาน โดยเครื่องบูชาประกอบด้วยพานพุ่ม ดอกไม้ กระถางธูป และเชิงเทียน อันเป็นสัญลักษณ์ของความมงคลและการบูชา.

หัวข้อประเด็น

-การตั้งโต๊ะหมู่บูชา
-วัฒนธรรมไทย
-พิธีการทางพระพุทธศาสนา
-เครื่องบูชาต่างๆ
-การจัดเครื่องบูชา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

6.4 การจัดโต๊ะหมู่บูชา การจัดโต๊ะหมู่บูชา เป็นวัฒนธรรมประจำชาติไทยมานาน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ามีมาแต่ สมัยใด ปัจจุบันในพิธีเกี่ยวกับพระสงฆ์ในพระราชพิธี รัฐพิธี หรือราษฎร์พิธี เป็นงานมงคลหรืองาน อวมงคลก็ตาม นิยมตั้งโต๊ะหมู่ทั้งสิ้น โดยมีจุดประสงค์ เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปพร้อมเครื่องบูชาตาม คตินิยมของชาวพุทธเท่าที่ปรากฏในสมัยพุทธกาลพุทธบริษัทมีความประสงค์จะบำเพ็ญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง นิยมนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุขในงานกุศลนั้นๆ เพื่อต้องการให้พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ พร้อมบริบูรณ์ ดังนั้น ศาสนพิธีต่างๆ ทางพระพุทธศาสนาจึงนิยมอัญเชิญพระพุทธรูปเป็นนิมิตแทนพระสัมมา สัมพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ในพิธีด้วย เพื่อให้พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ดังกล่าวแล้ว แต่การอัญเชิญ พระพุทธรูปมาประดิษฐานนั้น ควรทำสถานที่ประดิษฐานให้เหมาะสม ในขั้นแรกสันนิษฐานว่า อาจใช้ โต๊ะธรรมดาเป็นที่ประดิษฐาน ต่อมาได้มีวิวัฒนาการเป็นโต๊ะหมู่บูชาขึ้น ดังปรากฏในปัจจุบันนี้และมีหลาย รูปแบบ ในปัจจุบันการตั้งโต๊ะหมู่บูชา นอกจากจะเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญ และได้กลายเป็นมรดก ของชาติส่วนหนึ่งแล้ว ยังถือเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยอีก ปัจจุบัน การตั้งโต๊ะหมู่บูชา นิยมตั้งใน 2 กรณี คือ 1. ในพิธีทางพระพุทธศาสนา เช่น การทำบุญ ฟังเทศน์ เป็นต้น 2. ในพิธีถวายพระพร หรือตั้งรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชินีนาถ ส่วนเครื่องบูชาที่ใช้ในการตั้งโต๊ะหมู่บูชา ก็คือ พานพุ่ม หรือพานดอกไม้ แจกันดอกไม้ กระถางธูป เชิงเทียน โดยมีปริมาณที่มากน้อยแตกต่างกันไปตามจำนวนของโต๊ะที่ใช้ สำหรับโต๊ะหมู่ก็มีจำนวนโต๊ะต่อ หมู่ที่แตกต่างกันคือ หมู่ 4 หมู่ 5 หมู่ 6 หมู่ 7 หมู่ 9 โดยปัจจุบันนิยมใช้เฉพาะหมู่ 5 หมู่ 7 หมู่ 9 โดยหมู่ 5 นิยมใช้ในพิธีที่มีพื้นที่จำกัด ส่วนหมู่ 7 และหมู่ 9 มักจะใช้ในพิธีที่สำคัญและมีพื้นที่กว้างพอสมควร (ในบท นี้จะกล่าวถึงเฉพาะโต๊ะหมู่ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน คือ หมู่ 5 หมู่ 7 และหมู่ 9) การจัดเครื่องบูชาบนโต๊ะหมู่ถือว่าเป็นสิ่งที่ความสำคัญ ผู้จัดจึงมักทำด้วยความประณีตบรรจง เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเคารพต่อพระรัตนตรัย และเพื่อแสดงถึงศิลปะในการจัดเครื่องบูชา นอกจากนี้หลักเกณฑ์และวิธีจัดก็ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ผู้จัดโต๊ะหมู่บูชาควรทราบหลักเกณฑ์ และวิธีจัดโต๊ะหมู่บูชาแบต่างๆ ไว้ เพื่อจะได้จัดให้ถูกต้อง โดยมีหลักเกณฑ์การจัด คือ การตั้งเครื่องบูชา ทุกชนิดจะต้องไม่สูงกว่าพระพุทธรูปที่ประดิษฐานที่โต๊ะหมู่บูชา ส่วนปริมาณอาจแตกต่างกันตามประเภท ของโต๊ะหมู่ ดังนี้ บ ท ที่ 6 ศ า ส น พิ ธี DOU 127
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More