ตติยสังคายนาและการปกครองคณะสงฆ์ SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 98
หน้าที่ 98 / 169

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการตติยสังคายนาที่เมืองปาฏลีบุตร และการขยายตัวของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ตั้งแต่นั้นมาคณะสงฆ์ต้องการการสนับสนุนจากพระเจ้าแผ่นดิน ในการปกครองและการจัดระเบียบคณะสงฆ์ โดยมีการกำหนดสมณศักดิ์และราชทินนามเพื่อการปกครองอย่างมีระเบียบ และการแสดงความเคารพต่อพระเถรานุเถระและพระมหากษัตริย์ที่สนับสนุนพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-ตติยสังคายนา
-การปกครองคณะสงฆ์
-สมณศักดิ์และราชทินนาม
-พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
-การแสดงความเคารพต่อสมณะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ตติยสังคายนาที่เมืองปาฏลีบุตร เมื่อพระพุทธศาสนาเจริญแพร่หลายมีพระภิกษุสงฆ์จำนวนมากนำ พระพุทธศาสนาออกประดิษฐานในประเทศต่างๆ ซึ่งการแพร่หลายพระพุทธศาสนาครั้งนั้นจำเป็นที่จะต้อง ได้พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นพุทธศาสนูปถัมภกในประเทศนั้น อุดหนุนเกื้อกูลแก่การปกครองคณะสงฆ์มากยิ่งขึ้น จึงทำให้การปกครองของคณะสงฆ์ต้องเกี่ยวข้องกับงานราชการแผ่นดินด้วย ตั้งแต่การวางแบบแผน ปกครองคณะสงฆ์ซึ่งโดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายระเบียบการปกครองของทางราชการ ดังนั้นจึงมีการจัดตั้ง สังฆนายกให้สมณศักดิ์ต่างๆ ก็เพื่อให้มีระเบียบในการปกครองว่ากล่าวสังฆบริษัทตามลำดับขั้น และเมื่อมี การตั้งสมณศักดิ์ก็มักจะมีราชทินนามควบไปด้วย สมณศักดิ์และราชทินนามในประเทศไทยนั้นได้มีการใช้มานานตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบันนี้ โดยแบ่งออกได้ดังนี้ 1) สมเด็จพระสังฆราช 2) สมเด็จพระราชาคณะ 3) พระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง (รองจากชั้นสมเด็จพระราชาคณะ) 4) พระราชาคณะชั้นธรรม 5) พระราชาคณะชั้นเทพ 6) พระราชาคณะชั้นราช 7) พระราชาคณะชั้นสามัญ 8) รองพระราชาคณะชั้นพระครู และฐานานุกรม เมื่อมีการแบ่งสมณศักดิ์และราชทินนามแล้วเพื่อให้ความเคารพต่อท่าน เราจึงควรศึกษาการใช้คำ พูดกับท่านให้ถูกต้องเพื่อแสดงความเคารพในตัวพระเถรานุเถระและให้ความเคารพต่อพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา เพราะสมณศักดิ์นั้นได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น 1. การใช้คำทูลสมเด็จพระสังฆราช ถือหลักการใช้ราชาศัพท์ ฐานันดรศักดิ์ชั้นพระองค์เจ้า เช่น ค่ารับค่าตอบ ค่าแทนตัว ค่าเรียกขาน สมเด็จพระสังฆราช ฝ่าพระบาท ชาย เกล้ากระหม่อม กระหม่อมฉัน หญิง ชาย หญิง พะย่ะค่ะ เพคะ ฝ่าบาท กระหม่อม หม่อมฉัน กระหม่อม หน้า 19 ณัฏฐภัทร จันทวิช, ตาลปัตรพัดยศ ศิลปะบนศาสนวัตถุ, (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง, 2538), บ ท ที่ บ า ที่ 5 ม า ร ย า ก ช า ว พุ ท ธ DOU 89
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More