การฝึกฝนพัฒนาและการเพาะนิสัยจากปัจจัย 4 SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 23
หน้าที่ 23 / 169

สรุปเนื้อหา

บทนี้เน้นการศึกษาเกี่ยวกับการฝึกฝนพัฒนาและการเพาะนิสัยจากปัจจัย 4 ซึ่งได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยา โดยมีอธิบายถึงความสำคัญและขั้นตอนของการเพาะนิสัยจากปัจจัยเหล่านี้ โดยอิงจากหลักพระพุทธศาสนาและความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ สำหรับปัจจัย 4 เป็นฐานของการมีชีวิตที่ยั่งยืน สำหรับผู้เรียนที่จะเข้าใจความสำคัญและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

หัวข้อประเด็น

-ปัจจัย 4
-การฝึกฝนพัฒนา
-การเพาะนิสัย
-ความสำคัญของอาหาร
-เครื่องนุ่งห่มและที่อยู่อาศัย
-ยาและอุปกรณ์รักษาโรค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 2 การฝึกฝนพัฒนา หรือการเพาะนิสัยจากปัจจัย 4 บทนี้นักศึกษาจะได้ศึกษาเรื่องของการฝึกฝนพัฒนา หรือการเพาะนิสัยจากปัจจัย 4 โดยจะเริ่มจาก การทำความเข้าใจพื้นฐานก่อนว่า ปัจจัย 4 มีองค์ประกอบอะไรบ้าง? ความสำคัญของปัจจัย 4 กับ การดำรงชีวิตของมนุษย์ และการฝึกฝนพัฒนานิสัยหรือการเพาะนิสัยจากปัจจัย 4 มีขั้นตอนของการเพาะ นิสัยอย่างไร? 2.1 องค์ประกอบของปัจจัย 4 ตามหลักพระพุทธศาสนามีหลักเกณฑ์การใช้สอยทรัพยากรบัญญัติไว้ในพระวินัยหลายประเด็น เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะในเรื่องปัจจัย 4 ซึ่งเป็นสิ่งค้ำจุนพื้นฐานในชีวิต เป็นสิ่ง จำเป็นเบื้องต้นของชีวิต เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องอาศัยเลี้ยงอัตภาพ คือ 1) อาหาร (ปิณฑบาต หมายถึง การตกแห่งก้อนข้าว, ก้อนข้าวอันบุคคลให้ตกลงในบาตร, อาหาร อันบุคคลให้ตกลงในบาตร) ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมาย ของคำว่าอาหารไว้ว่า ของกิน เครื่องค้ำจุนชีวิต เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต เช่น อาหารเช้า อาหารปลา อาหารนก 2) เครื่องนุ่งห่ม (จีวร หมายถึง ผ้า ศัพท์จีวรนี้ แปลว่าผ้า หมายถึงผ้าทุกชนิด ไทยนำคำจีวร มาใช้ออกเสียง จีวอน) 3) ที่อยู่อาศัย (เสนาสน หมายถึง ที่เป็นที่นอนและที่เป็นที่นั่ง, ที่นอนและที่นั่ง, ที่อยู่ที่อาศัย, ที่อยู่) 4) ยาและอุปกรณ์รักษาโรค (คิลานปัจจัยเภสชฺชปริกขาร หมายถึง บริขาร คือยาอันเป็นปัจจัย แก่ภิกษุไข้, บริขาร คือยาอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้, เครื่องยารักษาคนไข้) ในที่บางแห่งเรียงลำดับปัจจัย 4 โดยเอาเครื่องนุ่งห่มขึ้นเป็นลำดับแรก ซึ่งตรงกับคำพิจารณา ปัจจัย 4 ในภาษาบาลี (ปัจจยปัจเวกข์) ที่พระภิกษุสงฆ์ท่านใช้พิจารณาปัจจัย 4 ซึ่งเรียงลำดับจีวร (เครื่อง นุ่งห่ม) เป็นอันดับแรก แต่ในที่นี้ได้ยกเอาเรื่องอาหาร (ในคำพิจารณาปัจจยปัจเวกข์ใช้คำว่า ปิณฑบาต 1 ป. หลงสมบุญ, พันตรี, พจนานุกรม มคธ-ไทย, (กรุงเทพฯ : ธรรมสาร, 2546), หน้า 491 พระครูอรุณธรรมรังษี (เอี่ยม สิริวณฺโณ), มนต์พิธี สำหรับพระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนทั่วไป (กรุงเทพฯ : อักษรสมัย (1999), 2534) หน้า 6-7 14 DOU วั ฒ น ธ ร ร ม ช า ว พุ ท ธ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More