การรักษาด้วยยาและการพัฒนานิสัยมนุษย์ SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 25
หน้าที่ 25 / 169

สรุปเนื้อหา

เอกสารนี้สำรวจวัตถุประสงค์ของยารักษาโรคที่มุ่งหมายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดและความไม่สะดวกต่อร่างกาย พร้อมทั้งนำเสนอความสำคัญของการพัฒนานิสัยในมนุษย์ตามหลักการของพระพุทธศาสนา โดยกล่าวถึงการฝึกจิตเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณธรรมและการลดละนิสัยไม่ดี การสำรวจนิสัยดีและไม่ดีในตัวเองและการทำความเข้าใจในกระบวนการเกิดของนิสัยถือเป็นหัวใจสำคัญในพัฒนาการของมนุษย์ ชี้ให้เห็นว่า การทำซ้ำการคิด การพูด และการกระทำในทางที่ดีจะนำไปสู่นิสัยดี ในขณะที่การทำในทางที่ไม่ดีจะส่งผลต่อนิสัยไม่ดี และเสนอคำถามเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชนให้ดีในสังคมไทย **dmc.tv**

หัวข้อประเด็น

- วัตถุประสงค์ของยารักษาโรค
- การพัฒนานิสัยในมนุษย์
- หลักพระพุทธศาสนา
- การฝึกฝนจิตใจ
- คุณธรรมและนิสัย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4) ยารักษาโรค มีวัตถุประสงค์ คือ 4.1 เพียงเพื่อกำจัดเวทนาอันเกิดจากโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น 4.2 เพื่อความไม่ลำบากกาย 2.3 การเพาะนิสัยจากปัจจัย 4 มนุษย์จัดเป็นสัตว์ประเสริฐที่สุดในโลก เพราะมนุษย์ต่างจากสัตว์ทั่วไปตรงที่สามารถฝึกได้ ฝึกแล้ว คุณธรรมทั้งหลายก็เกิดขึ้น ความโลภ ความโกรธ ความหลงลดลง ความอิจฉาตาร้อนลดลง ที่สำคัญใน พระพุทธศาสนามีบทฝึกให้ใจสงบได้อย่างมีระบบ และสามารถเข้าถึงธรรมะที่ลึกซึ้งได้ แต่ว่าในตัวของคนเราเปรียบเสมือนขยะกองใหญ่มีทั้งของดีและไม่ดีผสมกันอยู่ ซึ่งหมายถึงนิสัย ของมนุษย์เรามีทั้งดีและไม่ดีผสมกันอยู่ทุกคน จึงมีคำถามตามมาว่านิสัยทั้งดีและไม่ดีของมนุษย์เกิดขึ้นมา ได้อย่างไร? ก่อนอื่นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนควรรู้มีอยู่ 2 ประการ คือ ประการที่ 1 มนุษย์มีนิสัยที่ดีและไม่ดีอะไรบ้างในตัว ต้องสำรวจตัวเอง ว่าเรามีนิสัยดีอะไรบ้าง นิสัยไม่ดีอะไรบ้าง ประการที่ 2 นิสัยของมนุษย์ทั้งดีและไม่ดีเกิดขึ้นได้อย่างไร นิสัยของคนเราเกิดมาได้อย่างไร? ในทางพระพุทธศาสนามีคำตอบว่า นิสัยของคนเกิดจาก “การย้ำคิด พูด ทำ ถ้าย้ำคิด ย้ำพูด ย้ำทำ ในทางที่ถูก ที่ดี ได้ “นิสัยดี” เป็น “คนดี” ถ้าย้ำคิด พูด ทำ ในทางที่เลว จะได้ “นิสัยเลว” เป็น “คนเลว” เมื่อปู่ย่าตายายของเราจับหลักการฝึกคนตรงนี้ได้ก่อนแล้ว ก็ชี้ประเด็นต่อมาว่า ตลอดชีวิตของมนุษย์ ย้ำคิด พูด ทำอยู่ไม่กี่เรื่อง อะไรบ้าง? คำตอบคือ มีอยู่ 2 เรื่อง 1 วิริยะ ดุสิตพงศ์, เลี้ยงลูกอย่างไร ให้เมืองไทยได้เยาวชนดี, (กรุงเทพฯ : นฤมิต โซล (เพรส), 2545), หน้า 26-36 16 DOU วั ฒ น ธ ร ร ม ช า ว พุ ท ธ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More