การแบ่งปันและนิสัยในการให้ SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 153
หน้าที่ 153 / 169

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการไม่อยากแบ่งปันของข้าวของ แม้ว่าสิ่งของนั้นจะมีอยู่ในมือ แต่ผู้คนมักจะมีเหตุผลไม่แบ่งปันให้ผู้อื่น และมองว่าเป็นของขาดแคลนแทนที่จะมองกลับมาที่ตัวเราเอง นอกจากนี้ยังมีการสอนจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงความสำคัญของการฝึกนิสัยในการให้และการแบ่งปัน สิ่งที่มีอยู่บางครั้งอาจไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการยืมหรือให้ยืม สิ่งจำเป็นคือการตรวจสอบนิสัยของตัวเองก่อนที่จะตัดสินผู้อื่น

หัวข้อประเด็น

-พฤติกรรมการให้ยืม
-นิสัยในการแบ่งปัน
-มุมมองของพระพุทธเจ้า
-การตรวจสอบตัวเอง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แต่ในเวลาเดียวกัน เพื่อนอีกคนรู้ว่าเรามีหนังสือดีๆ ก็มาขอยืม แต่เรากลับไม่ให้ หรือสำหรับ คน ที่เคยทำงานมาแล้ว บางครั้งแม้กระทั่งเครื่องพิมพ์ดีด หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่ใช่ของส่วนตัว แต่เป็นของที่ สำนักงานข้างแผนกเกิดติดขัดขึ้นมามาขอยืมเครื่องพิมพ์ดีด หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ชักไม่อยากให้ยืม ปฏิเสธ ได้ก็ปฏิเสธเลย ถ้าปฏิเสธไม่ได้ จนใจจริงๆ ก็ให้ไปอย่างเสียไม่ได้ หรือแม้แต่คีม ค้อน ไขควง ก็ยังไม่อยาก จะให้ยืม บางคนมาเอ่ยปากขอยืม รีบให้ แต่พออีกคนมายืมกลับรีบปฏิเสธ แคลนจริงๆ ถ้ามองออกไปนอกตัวเราจะรู้สึกว่าคนๆ นี้มีพฤติกรรมที่ไม่ดี แต่มีสาเหตุอยู่ 2 ประการ คือ เหตุประการที่ 1 ของขาดแคลนจริงๆ บางครั้งของใช้ขาดแคลนจริงๆ เพราะงบประมาณขาด เหตุประการที่ 2 ของมีอยู่ แต่ยืมกันไม่ได้ หนังสือมีอยู่ เครื่องพิมพ์ดีดมีอยู่ ค้อนมีอยู่ แต่ไม่สามารถ เอามาใช้งานได้ ถามว่าของมีไหม “มี” แต่ในที่สุดก็กลายเป็นของขาด เพราะเอามาใช้ไม่ได้ ฉะนั้นอุปกรณ์ต่างๆ เวลาที่ขาดแคลน อย่ามองแต่เพียงว่าขาด แต่ให้มองว่าทำไมขาดด้วย ในกรณีที่เกิดอย่างนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงสอนให้มองย้อนกลับเข้ามาหาตัวเองให้ดี ถ้า ของนั้นมีอยู่ แต่ว่าเอามาใช้ไม่ได้ กลายเป็นของขาด พิมพ์ดีดมีอยู่ หนังสือมีอยู่ แต่เอามาใช้ไม่ได้ พระพุทธ องค์ทรงสอนว่า อย่าเพิ่งไปมองคนอื่นให้มองมาที่ตนเอง ตรวจดูว่า นิสัยของเราดีแค่ไหน ถ้านิสัยของเรา ดีจริง ของที่อยู่ข้างหน้าเรา น่าจะเอามาใช้ได้ ทำไมหนังสือที่เรามีอยู่ บางคนเราอยากให้ยืม แต่บางคนไม่อยากให้ยืม เพราะบางคนเอาหนังสือไป แล้ว ถึงเวลาก็ไม่คืน ต้องตามทวง หรือบางคนคืน แต่ไม่ตรงเวลา บางคนยืมของไปใช้ไม่เหมาะสมกับงาน เช่น บางครั้งไม่มีไขควง มายืมมีดไปก็ใช้ปลายมีดนั้นแทนไขควง แล้วเอามาคืน เป็นต้น ฉะนั้น ต้องตรวจสอบตัวเองว่า ครั้งใดของใช้มีอยู่แต่ว่ายืมจากใครไม่ได้ ให้ย้อนกลับมาดูนิสัย ตัว เองว่าเป็นอย่างไรให้เทียบตัวเราเองก่อน เพราะถ้าใครมีนิสัยไม่ดีมาขอยืมของจากเรา เราก็ไม่อยากให้ เพราะ ฉะนั้นครั้งใด ถ้าเรายืมของใครแล้วเขาไม่อยากให้ ขอให้ดูนิสัยตัวเองก่อน อย่าเพิ่งโกรธเขา กรณีของมีใช้ แต่ว่าเอามาใช้ประโยชน์ไม่ได้ ให้ดูเรื่องนิสัยอย่างหนึ่ง เรื่องความตระหนี่ หนึ่งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ฝึกนิสัยในการให้เสียก่อน อย่าง ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงสอนไว้ ให้ฝึกนิสัยในการให้ของตนเอง มีอะไรต้องแบ่งปัน กัน เรียกว่า “ทาน” เพาะนิสัยตรงนี้ไว้ให้ดี ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาที่ว่า ทีเอ็งข้าไม่ว่าทีข้าเอ็งอย่าโวย 144 DOU วั ฒ น ธ ร ร ม ช า ว พุ ท ธ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More