การสร้างความเข้มแข็งในครอบครัว SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 165
หน้าที่ 165 / 169

สรุปเนื้อหา

ภรรยามักมีปัญหากับสามีเนื่องจากการขาดการสื่อสารและความเข้าใจ การรับประทานอาหารร่วมกันช่วยเสริมความสัมพันธ์และสร้างโอกาสในการพูดคุยระหว่างสมาชิกในครอบครัว โดยการกินอาหารพร้อมหน้ากันถือเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้การตั้งกฎระเบียบที่ชัดเจนจากพ่อแม่ยังช่วยให้ลูกเติบโตเป็นคนดี มีความรับผิดชอบ ตามหลักการอบรมที่มีเหตุมีผล ดังนั้น การทำกิจกรรมร่วมกันและการสื่อสารที่มีคุณค่าเป็นสิ่งที่จะช่วยประคองครอบครัวให้แข็งแรง

หัวข้อประเด็น

-การรับประทานอาหารร่วมกัน
-การสื่อสารในครอบครัว
-การอบรมและปรับตัวของพ่อแม่
-พฤติกรรมของเด็ก
-การสร้างวินัยในครอบครัว

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ภรรยาสมัยนี้มักมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับสามีอยู่เรื่อยๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ ก็ให้ลองพิจารณา ตรงนี้ว่า เราเตรียมข้าวปลาอาหารให้เขาดีอยู่หรือเปล่า มีเรื่องอะไรเคยจับเข่าคุยกันบ้างไหม ถึงคราว นัดพบ ประชุมญาติฝ่ายเขา เราไปร่วมด้วยหรือเปล่า ถ้าเอาแต่ซื้อข้าวใส่ถุงพลาสติก ต่างคนต่างกินตาจ้องเป๋งอยู่ กับละครทีวี แล้วก็เห็นพระเอก นางเอกดีกว่าสามีเราภรรยาเรา ถึงวันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ ก็ปล่อยเขา ไปเยี่ยมพ่อแม่ตามลำพังละก็ เตรียมสถานการณ์บ้านแตกได้แล้ว ประโยชน์ของการกินอาหารพร้อมหน้ากันทุกวัน คือ มีอะไรจะได้พูดกันเสียไม่ต้องติดค้างอยู่ในใจ มีอะไรจะแนะนำสั่งสอนกันก็ใช้เวลาว่างช่วงนี้เหมาะสมที่สุดเพราะท้องอิ่มอารมณ์ดียิ่งกว่านั้นยังเป็นโอกาสให้ ลูกๆ ได้ถ่ายทอดนิสัยที่ดีไปจากพ่อแม่โดยการเลียนแบบกิริยามารยาทในการกินอยู่ไปโดยอัตโนมัติ ในสมัยโบราณเราถือกันว่าอย่างน้อยที่สุดใน 1 วัน พ่อแม่ลูกควรจะต้องมากินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตา กัน 1 มื้อ สำหรับมื้อเช้าอาจทำได้ยาก เพราะต่างคนต่างต้องรีบไปทำงาน หรือรีบไปเรียน ส่วนตอนกลาง วันต่างก็กินกันที่โรงเรียนหรือในที่ทำงาน แต่สำหรับมื้อเย็นนั้นขอให้เป็นเวลานัดพร้อมหน้าพร้อมตากันให้ได้ เพราะถ้าพลาดจากเวลาอาหารเย็นแล้ว ต่างคนต่างก็มีเรื่องส่วนตัวจะต้องทำ บางคน จะทำการบ้าน บาง คนจะดูทีวี ถ้าไม่มีเวลาอบรมพบปะทำความเข้าใจกัน ดีไม่ดีจะทะเลาะกันหน้าทีวี เพราะชอบไม่เหมือนกัน บางบ้านแก้ปัญหาโดยซื้อทีวีแจกกันให้ดูให้ครบคนละเครื่อง ตกลงวันหนึ่งๆ เลยไม่ต้องได้คุยกัน ต่างคนต่างไป ไม่มีความอบอุ่น บางคนบ่นว่า ลูกของตนดื้อมาก ทั้งที่พ่อแม่ก็ไม่ดื้อ ความจริงต้องการให้ ทุกคนทราบว่าลูกไม่ได้ผ่าเหล่า แต่ตัวพ่อแม่นั้นดื้อเงียบทั้งที่รู้ว่าต้องทำตัวอย่างดีๆ ให้ลูกดูก็ดื้อไม่ทำ ลูกก็เลยทำดื้อๆ ตามพ่อตามแม่ สำหรับชีวิตครอบครัวในปัจจุบันที่ต้องเร่งรีบปฏิบัติภารกิจต่างๆ ก็อาจดัดแปลงให้มีการประชุม กันเนืองนิตย์ได้ตามความเหมาะสม คือ ไม่จำเป็นต้องตั้งโต๊ะประชุมให้เป็นเรื่องเป็นราวนัก แต่อาจจัดให้พ่อแม่ ลูกได้สวดมนต์พร้อมๆ กันก่อนนอน หรือในเวลาเช้าครอบครัวใดมีรถยนต์ใช้ก็ควรจะนั่งรถยนต์ออกจากบ้านไป พร้อมกัน จะได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในรถได้ อย่ามองข้ามสิ่งเล็กน้อยเหล่านี้ไป 2. พฤติกรรมของคนในครอบครัวไม่คงเส้นคงวา คือ มีความบกพร่องใน อปริหานิยธรรมข้อ 3 ที่กล่าวว่าไม่บัญญัติสิ่งที่ท่านไม่ได้บัญญัติ และไม่ถอนสิ่งที่บัญญัติไว้ดีแล้วให้ประพฤติอยู่ในธรรมะที่บรรพบุรุษ ได้บัญญัติไว้ดีแล้ว พูดง่ายๆ ก็คือ พ่อแม่ซึ่งเป็นผู้นำของครอบครัวไม่ควรทำตัวเป็นคนผีเข้าผีออก คือ ทำอะไรตามอารมณ์ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ โดยไม่มีเหตุผล เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะครอบครัวที่อบรมลูกด้วยเหตุด้วยผล จะทำให้เด็กเป็นคนดีมีความคิด สร้างสรรค์ และมีความรับผิดชอบมาตั้งแต่เล็กๆ เมื่อลูกทำผิดก็ต้องว่ากล่าวสั่งสอนลงโทษให้สมควรแก่ความ ผิดนั้นๆ ไม่ใช่วันนี้อารมณ์ดี ลูกทำผิดหนักหนาอย่างไรก็ไม่ว่า แต่เมื่อถึงคราวอารมณ์ไม่ดี ทั้งที่ ความผิด น้อยกว่าเมื่อวันก่อนกลับตีเสียหลังลาย 156 DOU วั ฒ น ธ ร ร ม ช า ว พุ ท ธ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More