ข้อความต้นฉบับในหน้า
4. ศาสนพิธี เช่น พิธีเวียนเทียน พิธีตักบาตร เป็นต้น
5. ศาสนทายาท เช่น พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา เป็นต้น
ทั้ง 5 อย่างนี้ทุกคนที่เป็นชาวพุทธถือว่าเป็นเจ้าของทั้งหมด จึงควรช่วยกันดูแลรักษาและทำนุบำรุง
ให้คงอยู่และพัฒนาให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป แม้ไม่ใช่หน้าที่รับผิดชอบโดยตรง แต่ถ้าจะเกิดความเสียหายต่อ
หมู่คณะและพระพุทธศาสนาแล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ที่จะต้องช่วยกันป้องกันแก้ไข
สาธารณสถาน
คือสถานที่ที่คนในสังคมใช้ร่วมกัน ไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น
สวนสาธารณะ โรงเรียน ถนน ฯลฯ คนในสังคมจึงควรช่วยกันดูแลรักษาให้สะอาดและทำนุบำรุงให้มี
สภาพดีเสมอ อีกทั้งต้องช่วยกันพัฒนาให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
เมื่อความเสียหายจะเกิดขึ้นต่อสาธารณสมบัติหรือศาสนสมบัติ ย่อมเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้อง
ช่วยกันป้องกันแก้ไข เพราะผลเสียหายที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลกระทบมาถึงทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
วิธีการและขั้นตอนการดูแลรักษาได้ขยายความไว้แล้วในเรื่องที่ผ่านมา
หลักการดูแลรักษาสาธารณสมบัติ หรือศาสนาสมบัติที่ได้ผลมากที่สุดคือ หมั่นตรวจสอบหรือตรวจ
ตราดูบ่อยๆ จะทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หากเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมจะได้รีบแก้ไขได้
ทันท่วงที อีกทั้งเห็นถึงช่องทางที่จะพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป
เหตุแห่งความเสื่อมศรัทธา หรือการล้มสลายขององค์กร
หากบุคลากรในองค์กรใด ปล่อยปละละเลยวัสดุสิ่งของที่เป็นขององค์กร ต่างคนต่างนิ่งดูดาย
เพราะเห็นว่าไม่ใช่หน้าที่ที่ตนรับผิดชอบ ความหายนะล้มละลายย่อมมาเยือนองค์กรนั้นๆ แต่เหตุสำคัญที่
จะทำให้องค์กรล้มละลาย พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ใน กุลสูตร สรุปความได้ว่า
1. ของหายแล้วไม่หา
2. ของเสียแล้วไม่ซ่อม
3. ใช้ของไม่รู้จักประมาณ
4. ตั้งคนพาลเป็นหัวหน้า
กุลสูตร, อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต มก. เล่ม 35 หน้า 623
บทที่ 3 วั ฒ น ธ ร ร ม ก า ร ใ ช้ แ ล ะ ก า ร ดูแล รั ก ษ า ปั จ จั ย 4 DOU 57