การฝึกมารยาทและนิสัยการให้ปัน SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 154
หน้าที่ 154 / 169

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการปลูกฝังมารยาทและนิสัยการให้ปันตั้งแต่เด็กตามประเพณีของบรรพบุรุษ โดยเน้นว่ามารยาทมีความสำคัญในการรักษาความสงบสุขในสังคม รวมถึงแนวทางในการพัฒนานิสัยที่ดี และยังชี้ให้เห็นถึงอันตรายจากอบายมุขที่สามารถทำลายนิสัยที่ดีได้ เช่น สุรา นารี พาชี และกีฬาบัตร อีกทั้งยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่นำเสนอมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับการแบ่งปันและการทำงานร่วมกันในสังคม

หัวข้อประเด็น

-การปลูกฝังมารยาท
-นิสัยการให้ปัน
-อันตรายจากอบายมุข
-ตัวอย่างการทำงานร่วมกัน
-การสำรวจตนเอง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บรรพบุรุษของเราได้ปลูกฝังนิสัยการให้ปันมาตั้งแต่เล็กๆ คือ เช้าขึ้นมาก็สอนให้ใส่บาตร นั่นคือ การปลูกนิสัยการให้ปันโดยวิธีการของบรรพบุรุษ ในเวลาเดียวกัน เราป้องกันตัวเราเองด้วยการฝึกมารยาทไว้ให้ดี เพราะเมื่อเราโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว สิ่งที่น่ากลัวมีอยู่อย่างหนึ่งคือ ไม่ค่อยมีใครกล้าตักเตือนมารยาทใคร ไม่มีใครกล้าสอนมารยาทให้กัน เพราะ ฉะนั้นใครเป็นพ่อแม่คนแล้ว รีบฝึกลูกตัวเองเรื่องมารยาทให้ดี เพราะมารยาทจะช่วยให้ผู้ที่อยู่ร่วมกัน ปรองดองกัน ไม่กระทบกระทั่งกัน ดังนั้นต้องสำรวจตัวเองด้วยว่า 1. เราเป็นคนมีนิสัยพอสมควรแก่งานของเราหรือไม่ 2. เราเป็นคนตระหนี่ หวงสมบัติเกินไปหรือไม่ อีกกรณีหนึ่งคือ ของใช้มีอยู่แต่ว่าไม่ครบ กรณีนี้ให้ปันกันใช้ เพราะการแบ่งปันกันใช้นี่แหละ มารยาทยิ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ สิ่งที่ทำให้นิสัยของคนเสีย สิ่งที่จะทำให้นิสัยของคนเสีย คือ อบายมุข เหตุแห่งความฉิบหาย 4 อย่าง ได้แก่ 1. สุรา ถ้าใครจมอยู่ในวงสุรา นิสัยดีๆ มารยาทดีๆ จะหย่อนลงไป พอดื่มสุราแล้วทำให้ขาดสติ มีเหล้าที่ไหนจะมีความแตกแยกที่นั่น เพราะขณะที่กำลังร่วมวงดื่มสุรากันอยู่นั้น คำพูด คำเป็นคำพูดที่เกิดขึ้นจากฤทธิ์ของสุรา ทุก 2. นารี โดยทั่วไปแปลว่าผู้หญิง แต่ในที่นี้หมายถึงความเจ้าชู้ จะชายเจ้าชู้หรือหญิงเจ้าชู้ก็ได้ 3. พาชี แปลว่า ม้า แต่ไม่ได้หมายถึงเล่นม้า หมายถึงขี่ม้ากินลม ฉุยไปฉายมา พูดง่ายๆ คือ ชี้เกียจ ชอบผัดวันประกันพรุ่ง หนาวนักร้อนนักก็ไม่ทำงาน หิวนักอิ่มนักก็ไม่ทำงาน 4. กีฬาบัตร ได้แก่ การพนันทุกชนิด การเล่นการพนันแล้วได้ไม่คุ้มเสีย ยังไม่มีใครเคยรวย เพราะการเล่นการพนัน มีตัวอย่างอยู่เรื่องหนึ่ง มีผู้หญิง ทั้งเรียนเก่ง ทั้งทำงานเก่ง แต่เมื่อเรียนจบ จบอักษรศาสตร์ได้ เกียรตินิยม ทำงานดี ได้เลื่อน 2 ขั้นต่อกัน 3 ปี เนื่องจากทุ่มเทและมีฝีมือมาก ปีที่ 4 ผู้บังคับบัญชาจะให้ 2 ขั้นอีก เธอก็ไปกราบงามๆ แล้วบอกว่า พอแล้ว ให้คนอื่นบ้าง ปีที่ 5 เธอได้ 2 ขั้นอีก เธอก็บอกว่าพอเถอะให้คนอื่นบ้าง ผู้บังคับบัญชาบอกว่าคนอื่นไม่ได้ ทำงานทุ่มเทเหมือนคุณ ฉันให้คนอื่นไม่ได้หรอก หากให้ไปแล้วจะเป็นตัวอย่างไม่ดี เธอก็บอกว่า ถ้าเช่นนั้น ขอให้บรรดาเพื่อนร่วมงานทั้งหมดไปช่วยกันคิดว่าใครสมควรจะได้ ผู้บังคับบัญชาจึงต้องหาทุนไป ต่างประเทศให้เป็นการชดเชย ตรงนี้เป็นข้อคิดว่า บางครั้งเมื่ออยู่ด้วยกัน 2 ขั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เมื่อได้ บทที่ 7 ที่ วั ฒ น ธ ร ร ม ก า ร อ ยู่ ร่ ว ม กั น DOU 145
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More