ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 7
วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกัน
หัวข้อธรรมที่เป็นหลักในการนำมาดำเนินชีวิตให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคมปัจจุบันนี้
มีอยู่
หลายหัวข้อ แต่หลักๆ ที่นักศึกษาจะได้ศึกษาในบทนี้ จะขอยกมาเพียง 2 หัวข้อธรรม คือ สังคหวัตถุ 4
และอปริหานิยธรรม 7 ประการ
ทั้งสองหัวข้อธรรม เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ และเป็นสมาชิกขององค์กร หรือสังคม
แต่จะมีการนำเสนอในรูปแบบที่ต่างๆ กันออกไป เช่น บางครั้งมีคนนำมาเขียนเป็นหนังสือแนะนำเทคนิค
หรือบอกเล่าถึงประสบการณ์ วิธีการต่างๆ เพื่อประสบความสำเร็จ หรือแม้แต่หนังสือเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์
เป็นต้น ซึ่งเมื่อพิจารณาให้ลึกซึ้งแล้ว หนังสือเหล่านี้มุ่งเน้นมาที่หลักธรรมในหัวข้อ สังคหวัตถุ 4 เป็นสำคัญ
โดยที่อาจจะไม่ครบทั้ง 4 ประการ
หรือหนังสือบางเล่มเขียนเกี่ยวกับการจัดการในองค์กร แต่เนื้อหาหลักจริงๆ เมื่อพิจารณา
โดยเอาธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเทียบแล้วจะหนีไม่พ้นหลักของ อปริหานิยธรรม 7 เลย ดังนั้น
จึงเลือกเอา 2 หัวข้อหลักนี้มาประกอบการศึกษาในบทเรียนนี้
7.1 สังคหวัตถุ 4
สังคหวัตถุ เป็น “คุณเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น” มี 4 ประการ ได้แก่
1) ทาน
2) ปิยวาจา
3) อัตถจริยา
4) สมานัตตตา
หัวข้อธรรมดังกล่าวนี้ มีคุณค่าน่าสนใจ เพราะหากได้ปฏิบัติเป็นประจำสม่ำเสมอแล้ว ผู้นั้น ย่อม
เป็นที่รัก ที่เคารพ ที่เกรงใจของบุคคลทุกชั้น ทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่ผู้เป็นนาย
รวมทั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย
มีผู้รู้หลายท่านได้เขียนถึงวิธีการนำเอาหัวข้อธรรมนี้มาปฏิบัติในชีวิตประจำวันเพื่อให้ผู้ที่มาศึกษา
สามารถนำมาใช้ได้จริง ดังนั้นเนื้อหาในบทนี้จึงได้มีการยกเนื้อหาบางส่วนที่เหมาะแก่การนำไป
142
DOU วั ฒ น ธ ร ร ม ช า ว พุ ท ธ