การปฏิบัติในงานศพตามประเพณีไทย SB 202 วัฒนธรรมชาวพุทธ หน้า 144
หน้าที่ 144 / 169

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิบัติในงานศพตามประเพณีไทย โดยพูดถึงขั้นตอนต่างๆ เช่น การถวายของ การทอดผ้าบังสุกุล และกระบวนการในการรดน้ำศพ ข้อควรปฏิบัติและวิธีการต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับประเพณี นอกจากนี้ยังมีการแนะนำถึงความสำคัญของการเก็บสิ่งของและการจัดตั้งผ้าภูษาโยง เพื่อให้เกิดความเคารพในพระสงฆ์ระหว่างพิธีกรรมต่างๆ ในงานศพ ได้มีความเคารพและทำตามระเบียบที่ดี.

หัวข้อประเด็น

-บทนำการปฏิบัติในงานศพ
-การถวายของและการทอดผ้าบังสุกุล
-การรดน้ำศพ
-ประเพณีและความเคารพในงานศพ
-การจัดการงานศพในบริบทสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4. เมื่อพระสงฆ์สวดหรือเทศน์จบ เจ้าภาพจึงเก็บสิ่งของเครื่องกีดขวางออกให้หมด จัดสิ่งของ ที่จะถวายพระ เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน หรือสิ่งของอย่างอื่น นอกจากผ้าหรือใบปวารณา มาวางไว้ตรงหน้า พระสงฆ์ แล้วบอกญาติพี่น้องช่วยกันประเคน เสร็จแล้วคลี่ผ้าภูษาโยงหรือสายโยง วางราบไปทางหน้า พระสงฆ์เอาผ้าหรือใบปวารณาแจกญาติพี่น้องนำมาทอดบนผ้าภูษาโยงนั้น ถ้ามีผ้าโดยมากมักเอาใบ ปวารณากลัดติดกับผ้านั้นรวมกัน การทอดผ้าหรือใบปวารณานี้ ควรทอดขวางตัดกับผ้าภูษาโยง คือ วางขวางบนผ้าภูษาโยงนั้นอย่าทอดไปตามทางยาว ดูไม่งาม และควรทอดตามลำดับพระเถระ เสร็จแล้ว นั่งประนมมือ จนกว่าพระสงฆ์จะพิจารณาบังสุกุลจนจบ แต่บางแห่งนิยมทอดผ้าก่อนถวายของก็มี ในราชการนิยมถวายของก่อน ทอดผ้าภายหลัง ซึ่งยังถือปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน 5. ถ้าสวดพระพุทธมนต์แล้วฉันเช้าหรือฉันเพลในวันนั้นการถวายสิ่งของและการทอดผ้าบังสุกุล ทำภายหลังจากฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าสวดมนต์เย็น ฉันเช้าหรือเพลในวันรุ่งขึ้น และมีผ้าไตรจีวรทอด ก็ควรทอดภายหลังพระสวดจบในเย็นวันนั้น เพื่อให้ท่านนุ่งห่มฉลองศรัทธาในวันรุ่งขึ้น ส่วนสิ่งของและ ใบปวารณานั้น เก็บไว้ถวายและทอดในวันรุ่งขึ้น ภายหลังจากฉันเสร็จแล้ว 6. สําหรับรายการพระสวดอภิธรรมตอนกลางคืนหรือพระเทศน์ พระสวดรับเทศน์ ถ้าเจ้าภาพ ประสงค์จะอาราธนาฉันในวันรุ่งขึ้นด้วยก็ได้ แต่สิ่งของและผ้าทอดบังสุกุลควรจัดการถวายและทอด ให้เสร็จสิ้นในวันนั้น 7. ในการฌาปนกิจศพ ก่อนที่จะถึงเวลาทำการฌาปนกิจศพเล็กน้อย นิยมมีการทอดผ้า มหาบังสุกุล หรือเรียกว่าบังสุกุลปากหีบ ในการเช่นนี้ โดยมากเจ้าภาพนิยมเชิญแขกผู้ใหญ่ที่มีเกียรติขึ้นทอด และให้แขกผู้มีเกียรติสูงซึ่งจะเป็นผู้จุดเพลิงเป็นคนแรกนั้น เป็นคนทอดหลังสุด ให้แขกผู้มีเกียรติรองลง มาทอดก่อน แขกผู้ทอดผ้าบังสุกุลนี้ ให้ถือว่าเป็นแขกผู้มีเกียรติ ฉะนั้นก่อนทอดและหลังทอดแล้ว การทำ ความเคารพศพทุกครั้ง จะต้องยืนคอยอยู่จนกว่าพระสงฆ์ขึ้นไปพิจารณา ขณะที่พระสงฆ์กำลังพิจารณาอยู่นั้น ก็ควรประนมมือขึ้น การทอดไตรจีวรก่อนเผาศพนั้น ไม่ควร มีมากเกินไป เพราะจะทำให้แขกที่มาร่วมในงานนั่งคอยนาน ควรใช้ประมาณ 3 ไตร กำลังพอดี 6.6.2 ระเบียบปฏิบัติการไปร่วมงานศพ การรดน้ำศพ 1. แต่งกายไว้ทุกข์ตามความนิยมของสังคมท้องถิ่นนั้นๆ 2. การรดน้ำศพถือสืบกันมาว่า ไปขอขมาโทษ เพื่อจะได้ไม่มีเวรภัยต่อกัน 3. นิยมรดน้ำศพเฉพาะท่านผู้มีอายุสูงกว่า หรือรุ่นราวคราวเดียวกันเท่านั้น 4. ผู้มีอายุมากกว่าผู้ตาย ก็ไปร่วมงานให้กำลังใจเจ้าภาพ แต่ไม่นิยมรดน้ำศพ บ ท ที่ 6 ศ า ส น พิ ธี DOU 135
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More