ความดีและมหาทานในพระพุทธศาสนา ศีล เป็นที่ตั้งแห่งความดีงาม หน้า 34
หน้าที่ 34 / 205

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงศีลว่าเป็นที่ตั้งแห่งความดีงาม รวมถึงการทำมหาทานที่บัณฑิตควรรู้ โดยแบ่งเป็น 4 ประการคือ การละอทินนาทาน, การละกาเมสุมิจฉาจาร, การละมุสาวาท, และการงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา เพื่อมุ่งสู่ความดีและการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา. ทั้งนี้ยังกล่าวถึงแนวทางดำเนินชีวิตของอริยสาวกที่สร้างคุณธรรมและความดีงามในสังคม

หัวข้อประเด็น

-ศีล
-มหาทาน
-อริยสาวก
-แนวทางการทำบุญ
-การละเว้นความผิด

ข้อความต้นฉบับในหน้า

34 ศีล...เป็นที่ตั้งแห่งความดีงาม หาประมาณมิได้ Q ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นทานประการที่ ๑ ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานานเป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็น ของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิตไม่ รังเกียจ จักไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นห้วงบุญพวงกุศล ประการที่ ๔ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละอทินนาทาน งดเว้นจาก อทินนาทาน ฯลฯ นี้เป็นทานประการที่ ๒ ที่เป็นมหาทาน บัณฑิต พึงรู้ว่าเป็นเลิศ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญท้วงกุศล ประการที่ ๕ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจาก กาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ นี้เป็นทานประการที่ ๓ ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญพวงกุศล ประการที่ 5 อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท ฯลฯ นี้เป็นทานประการที่ ๔ ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็น เลิศ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญ วงกุศล ประการที่ ๗ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละการดื่มน้ำเมา คือ สุราและ เมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มนํ้าเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทแล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ความ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More