พญาช้างฉัททันต์ ศีล เป็นที่ตั้งแห่งความดีงาม หน้า 155
หน้าที่ 155 / 205

สรุปเนื้อหา

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาช้างฉัททันต์ในเดรัจฉานภูมิ มีนางช้างสองคนคือมหาสุภัททาและอจูฬสุภัททา ในขณะที่พญาฉัททันต์พาบริวารไปชมดอกรัง เกิดเหตุการณ์ทำให้ภรรยารู้สึกน้อยใจและเคืองแค้นในความไม่เที่ยงธรรมของสามี เนื้อหาเกี่ยวข้องกับกรรมและผลที่เกิดจากการกระทำในอดีต โดยพระโพธิสัตว์ได้แสดงความเคารพต่อพระปัจเจกพุทธเจ้าในพื้นที่นั้นเสมอ.

หัวข้อประเด็น

-พญาช้างฉัททันต์
-ความสัมพันธ์ในโขลงช้าง
-กรรมและวัฏฏสงสาร
-ความเคารพระบบการศรัทธา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

155 พระมหาสุวิทย์ วิชเชสโก ป.ธ.๙ พญาช้างฉัททันต์ ค ในอดีตกาล ด้วยอำนาจแห่งกรรมที่ต้องเวียนว่ายตาย เกิดในวัฏฏสงสาร พระโพธิสัตว์ได้เกิดในเดรัจฉานภูมิ เป็น พญาช้างมีนามว่าพญาฉัททันต์ มีนางช้างชื่อมหาสุภัททา และนางช้าง อจูฬสุภัททาเป็นชายา ปกครองโขลงช้างบริวาร มากมาย อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์อย่างผาสุกตามประสา เดรัจฉาน และทําการเคารพกราบไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ สถิตอยู่ถิ่นนั้นเสมอมา วันหนึ่งพญาฉัททันต์ได้พาบริวารไปชมดอกรัง ครั้น ไปถึงต้นรัง เห็นดอกบานสะพรั่งอยู่บนต้น จึงเข้าชนต้นรัง ด้วยหวังจะให้ดอกตกลงมา ในขณะนั้นนางมหาสุภัททายืนอยู่ ใต้ลม ดอกไม้ก็ปลิวไปโปรยปราย ต้องสรีระนางเป็นที่ชื่นใจ ฝ่ายนางจูฬสุภัททา ยืนอยู่เหนือลมได้ถูกกิ่งไม้แห้งๆ มีมดดำ มดแดงโปรยปรายลงที่นาง ด้วยความเข้าใจผิดนางจึงคิดน้อย ใจและเคืองแค้นใจในพญาฉัททันต์ผู้เป็นสามีว่า “สามีของเรานี้ นํ้าใจล่าเอียง ไม่มีความเที่ยงธรรม โปรยดอกไม้ให้ภรรยาที่ตนรักใคร่โปรดปราน แต่ตัวเรากลับ แกล้งให้มดดำมดแดงและกิ่งไม้แห้ง ตกมาต้องกายให้ได้รับ ทุกขเวทนา” พระสูตรและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏฯ เล่มที่ 59 หน้า ๓๗๐
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More