การไม่มีเวรและการรักษาศีล ศีล เป็นที่ตั้งแห่งความดีงาม หน้า 35
หน้าที่ 35 / 205

สรุปเนื้อหา

แนวทางในบทความนี้เน้นถึงความสำคัญของการไม่เบียดเบียนและการมีความไม่มีเวร รวมถึงการรักษาศีลซึ่งเป็นการทำบุญที่สำคัญ ฯลฯ โดยเนื้อหานี้จะพูดถึงการทำเพื่อความสุขและประโยชน์ต่อชีวิตทั้งหลาย การรักษาศีลนำมาซึ่งคำสอนและความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่เกี่ยวกับการให้แก่ชีวิตทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ และส่งผลดีต่อจิตใจและสังคมโดยรวม โดยเฉพาะการรักษาศีล 5 เป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การเป็นบุญที่สูงขึ้นและการมีจิตใจที่สะอาดและบริสุทธิ์.

หัวข้อประเด็น

-การไม่มีเวร
-การรักษาศีล
-มหาทาน
-บุญ
-ความสุข

ข้อความต้นฉบับในหน้า

35 พระมหาสุวิทย์ วิชเชสโก ป.ธ.๙ ไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้นให้ความ ไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณ มิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความ ไม่เบียดเบียนหาประมาณมิได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นทานประการที่ ๕ ที่เป็นมหาทาน อันบัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิต ไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นห้วงบุญห่วงกุศล ประการที่ 4 นำ สุขมาให้ ให้อารมณ์อันเลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ย่อม เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข” จะเห็นว่าการรักษาศีลนั้น เป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ ด้วย น้ำใจที่กว้างขวาง เพราะเป็นน้ำใจที่มีต่อชีวิตทั้งหลายอันไม่ มีประมาณ และไม่มีการเจาะจง การรักษาศีล จึงเป็นบุญอันพิเศษอย่างยิ่ง เพราะได้ ทั้งบุญจากการบำเพ็ญมหาทาน และบุญจากการรักษาศีล และนี่เป็นเพียงศีล ๕ อันเป็นเบื้องต้นเท่านั้น หากรักษาศีล ในข้อที่สูงยิ่งขึ้นไป ย่อมเป็นมหาทานอันยิ่งใหญ่ เป็นบุญอัน ยิ่งใหญ่ ที่สามารถชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ อย่างสุดที่
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More