โทษแห่งอทินนาทาน ศีล เป็นที่ตั้งแห่งความดีงาม หน้า 107
หน้าที่ 107 / 205

สรุปเนื้อหา

ในเรื่องราวนี้ พระมหาสุวิทย์ วิชเชสโก กล่าวถึงโทษของอทินนาทานโดยยกตัวอย่างปุโรหิตในสมัยพระเจ้าพรหมทัตที่ทดลองขโมยเงินหลวง ผลของการกระทำนี้ทำให้เจ้าหน้าที่หมดความยำเกรงและนำไปสู่การจับกุมเขา สอนให้เห็นว่าการไม่รักษาศีลย่อมส่งผลเสียต่อสถานะและเกียรติยศ.

หัวข้อประเด็น

-โทษแห่งอทินนาทาน
-ความสำคัญของศีล
-การทดลองของปุโรหิต
-ผลจากการทำผิดศีล
-ความยำเกรงของประชาชนต่อปุโรหิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

107 พระมหาสุวิทย์ วิชเชสโก ป.ธ.๙ โทษแห่งอทินนาทาน “ผู้มีอำนาจวาสนา หากว่าไม่รักษาศีล ย่อมไม่ อาจรักษาลาภยศของตนไว้ได้” คำกล่าวนี้จะเป็นจริงเพียง ใด พบกับคำตอบได้ เมื่อปุโรหิตผู้ยิ่งใหญ่ได้ทดลองขโมย ทรัพย์ของผู้อื่น ดู ปุโรหิตทดลองศีล 0 เมื่อครั้งพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติในกรุง พาราณสี ปุโรหิตผู้หนึ่งของพระองค์ ได้เกิดความสงสัยว่า ถ้าผิดศีลแล้วจะเป็นอย่างไร จึงได้ทดลองด้วยการขโมยเงิน หลวงไปวันละ ๑ กหาปณะ ในวันแรก และวันที่ ๒ นั้น ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะ เจ้าหน้าที่ทั้งหลายยังมีความยำเกรงในตัวปุโรหิตอยู่ ด้วยเห็น ว่าเป็นถึงราชครู แต่พอวันที่ ๓ เจ้าหน้าที่เหล่านั้นก็หมดความ ยำเกรง ร้องประกาศขึ้นว่า “ขโมย ขโมย” แล้วจับตัวปุโรหิต ผู้นั้นไปถวายพระราชา ในขณะที่เดินไปตามทางนั้น ปุโรหิตได้เห็นพวกหมองู แสดงการเล่นงูอยู่ งูนั้นเป็นงูพิษ แต่ไม่กล้ากัดใคร เพราะ สีลวิมังสนชาดก พระสูตรและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏฯ เล่มที่ ๕๖ หน้า ๒๙๗
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More