ข้อความต้นฉบับในหน้า
184
ศีล...เป็นที่ตั้งแห่งความดีงาม
อปฺปมตฺโต อยู๋ คนฺโธ
ยุวาย์ ตครจนทนี
โย จ สีลวต๋ คนฺโธ
วาติ เทเวสุ อุตฺตโม.
(๒๕/๑๔)
กลิ่นกฤษณาและกลิ่นจันทน์ยังหอมน้อยกว่า กลิ่นหอมของผู้มีศีล
ซึ่งหอมฟุ้งขจรไกล ถึงปวงเทพไท้เทวา
น ปุปุผคนฺโธ ปฏิวาตเมติ
น จนฺทน์ ตครมลุลิกา วา
สตญฺจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ
สพฺพา ทิสา สมฺปุริโส ปวายติ
(๒๕/๑๔)
กลิ่นหอมของมวลบุปผา ทั้งจันทน์ กฤษณา มะลิ มิอาจทวนลมได้
แต่กลิ่นหอม(แห่งศีล) ของสัตบุรุษ ย่อมหอมทวนลมไปในทุกทิศ
เตสํ สมฺปนฺนสีลานํ
อปปมาทวิหาริย์
สมมปัญญา วิมุตฺตานํ มาโร มคฺค น วินฺทติ
(๒๕/๑๔)
มารย่อมค้นไม่พบวิถีทางของท่านผู้มีศีล ผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท
ผู้หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสเพราะรู้ชอบ
น อตฺตเหตุ น ปรสฺส เหตุ
น ปุตฺตมิจฺเฉ น ธนํ น รฏฐ์
น อิจฺเฉยฺย อธมฺเมน สมิทฺธิมตฺตโน
ส สีลวา ปญฺญฺวา ธมฺมิโก สิยา,
(๒๕/๑๖)
บัณฑิตไม่ควรทำชั่ว เพราะเห็นแก่ตัว หรือเห็นแก่คนอื่น ไม่ควร
ปรารถนาบุตร ทรัพย์ แว่นแคว้น หรือความสำเร็จแก่ตน โดยทางที่ไม่
ชอบธรรม ควรมีศีล มีปัญญา มั่นอยู่ในธรรม