ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามและอัพยยศัพท์ - หน้าที่ 3
อุปโภค เช่นเสื้อผ้าหรือเครื่องใช้อย่างอื่น ๆ เป็นต้นก็ดี เป็นเครื่อง
บริโภคต่างโดยข้าวน้ำเป็นต้นก็ดี รวมเรียกว่า "สิ่งของ" สภาพหรือ
ธรรมชาติต่าง ๆ ต่างโดยฌานและสมาบัติเป็นต้น รวมเรียกว่า "สภาพ"
ชื่อของคนเป็นต้นเหล่านี้ เรียกว่า "นามนาม" แปลว่า "ชื่อของ
สิ่งที่มีชื่อ."
สาธารนาม
นามนามนั้นยังแยกประเภทออกไปอีก คือเป็นนามที่ทั่วไปแก่
สิ่งอื่นได้อย่าง ๑ เป็นนามที่ไม่ทั่วไปอย่าง ๑ นามที่ทั่วไปแก่คนสัตว์
ที่ อื่นได้ เหมือนคำว่า มนุสฺโส มนุษย์ ติรจฺฉาโน สัตว์ดิรัจฉาน
นคร เมือง เป็นต้น เรียก สาธารณนาม แปลว่านามที่ทั่วไป หรือชื่อ
ที่ทั่วไปอย่าง ๑.
อสาธารณนาม
นามที่ตรงกันข้าม คือเป็นนามที่ไม่ทั่วไป เป็นนามเจาะจง
เฉพาะอย่างหนึ่ง ๆ เหมือนคำว่า ทยุยเทโส ประเทศไทย เอราวโณ
ช้างชื่อเอราวัณ พิมพิสาโร พระราชานามว่าพิมพิสารเป็นต้น เรียก
อสาธารณนาม แปลว่านามที่ไม่ทั่วไป หรือเป็นชื่อที่เฉพาะไม่ทั่วไป
หากจะมีคำถามว่า คนไทยเป็นนามประเภทไหน ? คือเป็น
สาธารณนาม หรือ สารธารณนาม เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเฉลยว่า ข้อนั้น
สุดแล้วแต่ความหมาย ถ้าประสงค์จะให้คนไทยเป็นสาธารณนามก็ได้
เพราะคนไทยมีทั่วไปในประเทศไทย หากประสงค์จะให้คนไทยเป็น